ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เดินหน้าขับเคลื่อนการท่องเที่ยวไทย ขอยาแรงจากนายก ช่วย Supply side Restart กลุ่มท่องเที่ยวฐานราก
หลังการเลือกตั้งประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยวันที่ 3 มกราคม 2566 เพียง 1 วัน ในวันที่ 4 มกราคม คุณชำนาญ ศรีสวัสดิ์ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท)
นางวิรินทร์ตรา ปภากิจยศพัฒน์ กรรมการสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พื้นที่เขต 11(พังงา กระบี่ ภูเก็ต) นำทีมบริหารสภาและคณะ เข้าพบ นายยกรัฐมนตรี ประยุทธ จันโอชา โดยมีนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ร่วมรับฟังปัญหา เพื่อแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยมีประเด็นที่สำคัญดังนี้1. เรื่องการยกเว้นค่าธรรมเนียม การอมรมและต่อใบอนุญาตมัคคุเทศ2. เรื่องการเร่งให้ประกาศใช้กฏหมาย 2 ฉบับ
2.1 กฎกระทรวงมหาดไทย กำหนดประเภท และมาตรฐานของสถานที่พัก ที่ไม่เป็นโรงแรม พ.ศ. ……. ยกร่างโดยกรมการปกครอง ห้องพักไม่เกิน 10 ห้องและจำนวนไม่เกิน 30 สิบคน
2.2 กฎกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยลักษณะและระบบความปลอดภัยของอาคารทีใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ……………หรือกฎกระทรวงที่พักตามขนาดไซส์อาคาร SMEs โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง
3. ขอเงินทุนในการ Restart ธุรกิจท่องเที่ยว โดยไม่ต้องใช้เกณฑ์เครดิตบูโร
นางวิรินทร์ตรา กล่าวต่อไปว่า หลังจากนายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย( สทท.) ได้นำคณะกรรมการเข้าพบ พลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค และคณะกรรมที่ทำเนียบรัฐบาล ได้มีการหารือในเรื่องการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในด้านต่างๆ ได้เริ่มเห็นการดำเนินการ หลายประเด็นที่ร้องขอ อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะในเรื่องของเงินทุน ทางบอร์ดส่งเสริม สสว. ได้มีการอนุมัติเงื่อนไงพิเศษ ตามที่ ประธาน สทท. ได้ร้องขอไว้ เมื่อวันที่ 4 มกราคม ที่ผ่านมา เพื่อปลดล๊อคเครดิตบูโร สำหรับผู้ประกอบการท่องเที่ยว โดยนายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด กล่าวว่า รัฐบาลจะผ่อนผันโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้สำหรับผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่เคยชำระหนี้ได้ตามสถานะปกติ ถึงสิ้นปี พ.ศ. 2562 และประสบปัญหาสภาพคล่องในช่วงวิกฤตโควิด -19 ในช่วงปี พ.ศ. 2563-2565 ให้สามารถมีสิทธิในการกู้เงินได้ เพิ่มสภาพคล่องและโอกาสในการกลับมา Restart ธุรกิจได้ นอกจากนี้บอร์ดส่งเสริมสสว. ยังอนุมัติงบประมาณ 968 ล้านบาท ผ่าน บสย. สำหรับช่วยเหลือผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่ขาดหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อการค้ำประกันสินเชื่อวงเกินมากกว่า 3,500 ล้านบาท
นางวิรินทร์ตรา กล่าวอีกว่า หลังจากนี้ตนจะผลักดันในเรื่องต่างที่สมาชิกประสบปัญหาไม่ว่าจะเป็นการขอใบอนุญาตของผู้ประกอบการโรงแรมขนาดเล็ก และประเด็นติดขัดอื่นๆ เพื่อให้ทางหน่วยงานภาครัฐได้เข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการ ให้สามารถทำธุรกิจได้อย่างมั่นคง เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด ในฝั่งอันดามันและของประเทศต่อไป