เตรียมแผนบูรณาการดำเนินโครงการปรับปรุงเรือนจำจังหวัดภูเก็ตแห่งเดิมเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เพื่อการใช้ประโยชน์สาธารณะ

จังหวัดภูเก็ต โดยเรือนจำจังหวัดภูเก็ต ธนารักษ์พื้นที่ภูเก็ต เทศบาลนครภูเก็ตและองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต เตรียมแผนบูรณาการดำเนินโครงการปรับปรุงเรือนจำจังหวัดภูเก็ตแห่งเดิมเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เพื่อการใช้ประโยชน์สาธารณะให้เป็นพื้นที่สีเขียว เป็นปอดของชาวภูเก็ต

ที่ ห้องประชุม โรงแรมเดอะ พาโก้ ดีไซน์ ภูเก็ตในกิจกรรม การแถลงข่าว”ผู้ว่าฯ พบสื่อมวลชนและกิจกรรม ร่วมสืบสานวัฒนธรรมไทยสงกรานต์วิถีใหม่ปี 2565 โดยมี นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานฯ มีนายอานุภาพ รอดขวัญ ยอดระบำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต /นายสมปราชญ์ ปราบสงคราม ปลัดจังหวัดภูเก็ต/ พลเรือตรีกนกพล พิมพ์ทอง รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน จังหวัดภูเก็ต (ท)/ พล.ต.ต.เสริมพันธุ์ ศิริคง ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต/นายอานุภาพ เวชวณิชสนอง รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต/ นายสาโรจน์ อังคณาพิลาส นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต/ นางสาววรนิษฐ์ อภิรัฐจิรวงษ์ พาณิชย์จังหวัดภูเก็ต /ดร.กุสุมา สว่างพันธุ์ หน.กลุ่มงานโรคติดต่อ สนง.สสจ.ภูเก็ต /นายกฤษณะ ทิพยจันทร์ ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดจันทบุรีรักษาราชการแทนผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดภูเก็ตและสื่อมวลชนเข้าร่วม

โอกาสนี้นายกฤษณะ ทิพยจันทร์ ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดจันทบุรีรักษาราชการแทนผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า จังหวัดภูเก็ต โดยเรือนจำจังหวัดภูเก็ต ธนารักษ์พื้นที่ภูเก็ต เทศบาลนครภูเก็ตและองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต เตรียมแผนบูรณาการดำเนินโครงการปรับปรุงเรือนจำจังหวัดภูเก็ตแห่งเดิมเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตามนโยบาย ของ ดร.อายุตฆ์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ โดยกำหนดพัฒนาพื้นที่เรือนจำเก่าจังหวัดภูเก็ต ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ตเพื่อการใช้ประโยชน์สาธารณะให้เป็นพื้นที่สีเขียว เป็นปอดของชาวภูเก็ต

สำหหรับเรือนจำจังหวัดภูเก็ต เดิมชื่อ เรือนจำมณฑลภูเก็ตสร้างในสมัยพระยารัษฏานุประดิษฐ์ เป็นสมุทเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ในปีพุทธศักราช 2444 ตั้งอยู่ที่เลขที่ 11 ถนนดำรง ตำบลตลาดใหญ่อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต แบ่งเป็นพื้นที่ภายในกำแพงจำนวน 6 ไร่ 1 งาน /พื้นที่นอกกำแพง 41 ไร่ 2 งาน 34 ตารางวารวมพื้นที่ทั้งหมด 47 ไร่ 2 งาน 34 ตารางวา นับรวมระยะเวลาจนถึงปัจจุบัน (2564)ได้ 120 ปี ซึ่งนับว่าเป็นเรือนจำที่มีความเก่าแก่แห่งหนึ่งของประเทศไทย ปัจจุบันเรือนจำจังหวัดภูเก็ตแห่งนี้ไม่ได้ใช้ในภารกิจควบคุมผู้ต้องขังแล้วแต่ก็ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาเล่าเรียนถึงภูมิปัญญาของช่างในสมัยอดีตทั้งด้านสถาปัตยกรรม การออกแบมกบอสร้างกำแพงเรือนจำ อาคารเรือนนอน และเครื่องมือ เครื่องใช้ วัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนเครื่องพันธนาการที่ใช้ในสมัยอดีต ซึ่งบุลคลโดยทั่วไปไม่สามารถเข้าไปเห็นหรือสัมผัสของจริงได้หรือมีบางคนเรียกว่า “แดนสนธยา”

การพัฒนาแดนสนธยาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แหล่งเรียนรู้ (Museum Live) ให้นักท่องเที่ยวและผู้สนใจงานราชทัณฑ์ในอดีต สามารถเข้าศึกษา หาความรู้ และสัมผัสสถานที่จริงๆที่เคยเป็นคุกขังนักโทษมาเป็นเวลา 120 ปีมาแล้ว จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากให้เรือนจำแห่งนี้ได้เป็นแหล่งเก็บรวบรวมข้อมูลด้านต่างๆ ทั้งในด้านประวัติความเป็นมาอาคารสถานที่ วัสดุ/อุปกรณ์ ที่ใช้ในงานราชทัณฑ์ในอดีตเพื่อส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ของงานสถาปัตยกรรมในอดีต และพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ สำหรับผู้สนใจในงานราชทัณฑ์ เพื่อใช้เป็นที่ฝึกวิชาชีพให้กับผู้ต้องขังก่อนปล่อย เช่นการฝึกวิชาชีพนวดแผนโบราณการฝึกวิชาชีพขายกาแฟ/เครื่องดื่ม การฝึกวิชาชีพด้านการเย็บปักถักร้อย/ปักเลื่อม และการพัฒนาพื้นที่เพื่อการใช้ประโยชน์สาธารณะให้เป็นพื้นที่สีเขียว เป็นปอดของชาวภูเก็ตต่อไป

ด้าน นายสาโรจน์ อังคณาพิลาส นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต กล่าวว่า เรือนจำจังหวัดภูเก็ต อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาลนครภูเก็ต ดังนั้นเทศบาลนครภูเก็ต พร้อมสนับสนุนแผนการปรับปรุงพื้นที่ดังกล่าวเพื่อให้เรือนจำแห่งนี้กลับมามีชีวิตและให้ประชาชนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ร่วมกันต่อไป

ในส่วนของ นายอานุภาพ เวชวณิชสนอง รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตพร้อมสนับสนุนงบประมาณในโครงการปรับปรุงเรือนจำจังหวัดภูเก็ตแห่งเดิมเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อให้มีพื้นที่สาธารณะที่ประชาชนสามารถมาใช้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

Subscribe