จังหวัดภูเก็ตโดยสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดภูเก็ต เร่งขับเคลื่อนโครงการแก้ปัญหาภัย
พิบัติ / ดินสไลด์ของจังหวัดภูเก็ต ด้านกรมโยธาธิการและผังเมืองอนุเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญในการศึกษาและ
ออกแบบระบบระบายน้ำในพื้นที่ และระบบฟื้นฟูเพื่อป้องกันการสไลด์ของดิน เพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
ที่ ห้องประชุมมุกอันดา ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานนำ นายปกรณ์ วราภาสกุล โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดภูเก็ต, นายจักรพงษ์ ถามุลตรี ผู้อำนวยแขวงทางหลวงชนบทภูเก็ต ,นายสุธรรม พั้วพันธุ์ รองผู้อำนวยการแขวงทางหลวงภูเก็ต (ฝ่ายวิศวกรรม) รักษาราชการแทนผู้อำนวยการแขวงทางหลวงภูเก็ต , นางนัฐภรณ์ ไทยสันติสุข รองผู้อำนวยการแขวงทางหลวงภูเก็ต (ฝ่ายบริหารงานทั่วไป) , ภูเก็ต นายธนาวุฒิ เพ็ชรชระ ผู้อำนวยการ สำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทย จังหวัดภูเก็ต ,นายสัญชัย คุ้มกิจ นายช่างโยธาปฏิบัติงาน สำนักงานแขวงทางหลวง และ นางสาววิไลพร ปิติมานะอารี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลภูเก็ต ร่วมแถลงข่าวตามโครงการประชาสัมพันธ์เผยแพร่นโยบายสำคัญส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต (กิจกรรมผู้ว่าราชการจังหวัดพบสื่อมวลชน) โดยมีสื่อมวลชนเข้าร่วมจำนวนมาก
โอกาสนี้นายปกรณ์ วราภาสกุล โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึง ความคืบหน้าการ
ขับเคลื่อนโครงการแก้ปัญหาภัยพิบัติ / ดินสไลด์ของจังหวัดภูเก็ต ว่า “สำนักงานโยธาธิการและผังเมือจังหวัด
ภูเก็ต ได้ดำเนินโครงการระบบระบายน้ำจังหวัดภูเก็ตมีโครงการที่สำคัญอาทิตย์โครงการ ก่อสร้างระบบป้องกันน้ำ
ท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองภูเก็ตอำเภอเมืองจังหวัดภูเก็ตซึ่งดำเนินการในพื้นที่เทศบาลนครภูเก็ตและเทศบาลตำบล
รัษฎา โดยจัดทำรางระบายน้ำคลองลัด, ดาดท้องคลองร่วมน้ำใจ ,ท่อระบายน้ำสวนหลวง และสถานีสูบน้ำคลอง
บางใหญ่ โดยดำเนินการก่อสร้างเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
โครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำหลักเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองภูเก็ตระยะที่ 2 จังหวัดภูเก็ต ดำเนินการในพื้นที่เทศบาลนครภูเก็ตและเทศบาลตำบลรัษฎาซึ่งดำเนินการมาระหว่างปี 2564-2567 ความคืบหน้าอยู่ระหว่างการดำเนินการ โดยจะมีการทำเขื่อนป้องกันตลิ่งริมคลองบางใหญ่, ท่อระบายน้ำซอยพะเนียงเยาวราช ,ท่อระบายน้ำสามแยกประชาอุทิศหลังโลตัสและสถานีสูบน้ำโกมารภัจจ์
นอกจากนี้ยังมีการดำเนินระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบระบายน้ำพื้นที่เทศบาลเมืองป่าตอง โดยมีโครงการ ที่
ก่อสร้าง แล้วเสร็จคือโครงการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนป่าตองจังหวัดภูเก็ต ( โดยจัดทำเขื่อนป้องกันตลิ่งริมคลองใหญ่และสถานีสูบน้ำคลองบางใหญ่)
สำหรับโครงการปรับปรุงคลองบางใหญ่ขณะนี้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว เป็นโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการ
ระบายน้ำคลองบางใหญ่เพื่อป้องกันอุทกภัยในเขตเมืองซึ่งมีการก่อสร้างรางระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กกว้าง 12 เมตรยาว 415 เมตรบริเวณคลองบางใหญ่สะพานตลิ่งชันถึงสะพานกอจานถนนตะกั่วป่าตำบลกระจาดใหญ่อำเภอเมืองจังหวัดภูเก็ตจำนวน 1 แห่งงบประมาณในการก่อสร้าง 36,608,440.32 บาท
โครงการปรับปรุงคลองบางใหญ่บริเวณอำเภอกะทู้ก็ดำเนินการเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้วเป็นโครงการพัฒนา
เส้นทางริมคลองบางใหญ่เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาพื้นที่ชุมชน โดยลักษณะงานเป็นงานรื้อถอนเขื่อนเดิม
และก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กใหม่ความยาวไม่น้อยกว่า 1,140 เมตรพร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่เขื่อนริม
คลองบางใหญ่ตำบลกะทู้อำเภอกะทู้จังหวัดภูเก็ต วงเงินในการก่อสร้าง 50,823,260.40 บาท
นายปกรณ์ วราภาสกุล โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดภูเก็ต กล่าวเพิ่มเติมว่า สำนักงานโยธาธิการและผังเมือง
จังหวัดภูเก็ตได้จัดทำโครงการขอรับสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายงบกลางปี 2567 ประกอบด้วยโครงการก่อสร้าง
เขื่อนป้องกันน้ำท่วมคลองท่าเรือเกาะแก้วและคลองนาลึก ( พื้นที่ริมคลองท่าเรือเกาะแก้วและคลองนาลึก ตำบล
ศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต) โดยจะดำเนินการก่อสร้างเกินป้องกันน้ำท่วมช่วงที่ 1 คลองท่าเรือเกาะแก้ว(
ช่วงถนนเทพกระษัตรี-หมู่บ้านเดอะวัลเลย์) กำแพงกันดินสูง 4.75 เมตรความยาวรวม 2 ข้างไม่น้อยกว่า 4,750
เมตร และก่อสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมช่วงที่ 2 คลองนาลึก กำแพงกันดินสูง 3 เมตรความยาวรวม 2 ข้างไม่น้อย
กว่า 4,000 เมตร
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดภูเก็ตยังได้ช่วยปฏิบัติภารกิจเพื่อสนับสนุนการแก้ไข
ปัญหาดินถล่มของจังหวัดภูเก็ตในเขตพื้นที่ตำบลกะรน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ตโดยได้ร่วมออกสำรวจพื้นที่เกิด
เหตุและสภาพอากาศที่ได้รับผลกระทบพร้อมนำโดรนขึ้นบินถ่ายวีดีโอและภาพในพื้นที่เกิดเหตุตำบลกะรนมีการ
รายงานสถานการณ์และตรวจสอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องและได้ประสานกรมโยธาธิการและผังเมืองเพื่อขอความ
อนุเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญในการศึกษาและออกแบบระบบระบายน้ำในพื้นที่
สำหรับแนวทางการบริหารจัดการภัยพิบัติดินถล่มของจังหวัดภูเก็ต ได้กำหนด มาตรการดังนี้
-มาตรการไม่ใช้สิ่งก่อสร้าง คือ การกำหนดสัดส่วนพื้นที่ว่างต่อแปลงที่ดินที่น้ำสามารถซึมผ่านได้พร้อมปรับปรุงข้อ
กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในที่ดินทุกประเภท ให้มีพื้นที่น้ำซึมผ่านได้เพื่อปลูกต้นไม้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30-50
ของพื้นที่ว่าง
– มาตรการใช้สิ่งก่อสร้าง คือการสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำ และสร้างฝายชะลอน้ำ
สำหรับการดำเนินการจะเน้นการพัฒนาที่ควรเป็นคือการอนุรักษ์พื้นที่ป่าต้นน้ำปลูกป่าทดแทนและปลูกจิตสำนึกใช้
มาตรการทางกฎหมายอย่างเคร่งครัดสำหรับผู้บุกรุกทำลายป่า วางผังเมืองพัฒนาเมืองแบบกระชับเพิ่มพื้นที่น้ำซึม
ผ่าน รักษาพื้นที่ริมน้ำเพิ่มพื้นที่รับน้ำและพื้นที่น้ำซึมผ่าน
การพัฒนาที่ควรหลีกเลี่ยง คือ การบุกรุกทำลายป่าต้นน้ำการพัฒนาเมืองแบบกระจัดกระจายและการรุกล้ำลำน้ำ
ทำลายสภาพสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้หากสามารถดำเนินการได้ตามแผนและแนวทางและมาตรการที่วางไว้คาดว่าจะ
สามารถ ป้องกัน การเกิดดินโคลนถล่ม ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ