ภูเก็ตเร่งหาสาเหตุเด็กนักเรียนท้องเสียคาดเกิดจากเชื้อไวรัส

ภูเก็ตเร่งหาสาเหตุเด็กนักเรียนท้องเสียคาดเกิดจากเชื้อไวรัสโนโรและไวรัสโรต้า รวมถึงเชื้อแบคทีเรีย เชื้ออีโคไล ที่เกิดจากการรับประทานอาหาร น้ำดื่ม น้ำแข็งที่ไม่สะอาด
จากกรณีที่มีนักเรียนในโรงเรียนจังหวัดภูเก็ต มีอาการปวดท้องและอาเจียนกันเป็นจำนวนมาก

ล่าสุด วันนี้ (08 มิ.ย 66) นางสาวรมย์ชลี แก้วกลับ ผู้อำนวยการผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านไม้เรียบ เปิดเผยว่า ตอนนี้ทางเจ้าหน้าที่สาธารณะสุของจังหวัดภูเก็ตหรือว่าสาธารณะสุขอำเภอ ได้ประกาศออกมาแล้วหลังจากที่นักเรียนมีปวดท้องและอาเจียน ว่าตอนนี้ได้มีไวรัสอยู่ชนิดนึง เรียกว่าไวรัสลงกระเพาะ ซึ่งจะมาในช่วงของฤดูหนาวหรือฤดูฝน จะเกิดในช่วงพฤศจิกายน -ธันวาคม จะทำให้เด็กนี้มีอาการท้องเสียและอาเจียน ตอนนี้ทั้งจังหวัดภูเก็ตเป็นข่อนข้างเยอะมากในส่วนของโรงเรียนเราก็มี พอดูอาการแล้ว ถ้าอ่านในรายละเอียดของไวรัสตัวนี้ จะมาในจำพวกของน้ำซึ่งจะเป็นสาเหตุ เหมือนของทางโรงเรียนตอนนี้ได้รายงานทางผู้บริหารแล้ว ว่าจะมีแนวทาง หรือมาตราการที่จะช่วยป้องกันหรือว่าบรรเทาจะไม่ให้มันเกิดขึ้นเพิ่มขึ้น และวันพรุ่งนี้จะทำการปิดภายใน สำหรับในส่วนของโรงเรียนเอง หลังจากที่มีทางเราก็ได้ลงไปตรวจสอบ เพราะว่าของพวกนี้ต้องเป็นลักษณะของการกินร้อน ในส่วนของเราจะเน้นให้เด็กนำน้ำมาของตัวเอง ในส่วนของเราไม่เน้นน้ำแข็งในปริมาณมาก มาตรการในตอนนี้ ก็คืองดที่จะให้เด็กดื่มน้ำแข็ง และในวันนี้ทางเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขได้เข้ามาตรวจสอบแล้ว ในส่วนของโรงเรียน เขาดูว่า มันไม่น่าจะมีสาเหตุที่จะเกิดขึ้นภายในโรงเรียน เบื้องต้นเด็กผู้ปกครองได้พาไปพบหมอแล้ว ตอนนี้ทุกคลีนิคเต็มหมดแล้วโรงพยาบาลก็เต็มหมด มันกลายเป็นเหมือนโรคระบาด ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ เป็นทั้งผู้ใหญ่ก็เยอะใช่เป็นแต่ในเด็ก

ต่อมาในเวลา 18.00 น. ที่ห้องประลุมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตนายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ เป็นประธานการแถลงข่าวสถานการณ์โรคติดต่อระบบทางเดินอาหารและน้ำ ในจังหวัดภูเก็ตโดยมี นายแพทย์กู้ศักดิ์ กู้เกียรติกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต นายเรวัต อารีรอบ นายก อบจ.ภูเก็ต และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

นายแพทย์กู้ศักดิ์ เนื่องจากมีนักเรียนหลายโรงเรียนในจังหวัดภูเก็ตมีอาการปวดท้องและอาเจียน กันเป็นจำนวนมาก ด้วยขณะนี้ประเทศไทยและจังหวัดภูเก็ตเข้าสู่ฤดูฝน อากาศมีความเย็นและขึ้นด้วยขณะนี้ประเทศไทยและจังหวัดภูเก็ตเข้าสู่ฤดูฝน อากาศมีความเย็นและขึ้นทำให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรคหลายชนิด โดยเฉพาะโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันที่เกิดจากเชื้อไวรัสโนโรและไวรัสโรต้า รวมถึงเชื้อแบคทีเรีย เชื้ออีโคไล ที่เกิดจากการรับประทานอาหาร น้ำดื่ม น้ำแข็งที่ไม่สะอาด ปนเปื้อนเชื้อก่อโรค ซึ่งเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรค

เนื่องจากเมื่อวันที่อังคารที่ 6 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตได้รับรายงานสถานการณ์ พบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงเข้ารับบริการในโรงพยาบาลภาครัฐ เฉลี่ย 50 ราย/วัน โรงพยาบาลเอกชนเฉลี่ย 100 ราย/วัน กระจายหลายกลุ่มอายุ ในหลายพื้นที่ รวมทั้งมีรายงานพบนักเรียนป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงกระจายในหลายโรงเรียนสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อมูลพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เข้าโรงพยาบาลมีอาการ ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย และบางรายมีไข้ซึ่งพบทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทั้งนี้ประวัติอาหารและความเชื่อมโยงยังไม่ชัดเจน และพบการกระจายของโรคทั้ง 3 อำเภอ สำหรับในโรงเรียนพบนักเรียนป่วยในพื้นที่อำเภอเมือง กะทู้ และถลางประวัติอาหารและความเชื่อมโยงยังไม่ชัดเจน

จากสถนการณ์ดังกล่าวทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการ คือ 1. แจ้งสถานบริการสาธารณสุขทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ให้ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์โรคติดต่อทางอาหารและน้ำในพื้นที่อย่างใกล้ชิดเพื่อเตรียมการดำเนินการป้องกันควบคุมการเกิดของโรคไวรัส ในพื้นที่รับผิดชอบ2. แจ้งสถานศึกษาในพื้นที่ ทุกระดับ ให้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ ได้แก่ การปฏิบัติตนให้ถูกสุขอนามัย ด้วยการรับประทานอาหาร ปรุงสุกใหม่ สะอาด ไม่รับประทานอาหารสุกๆดิบๆ และอาหารค้างมื้อ งดทานอาหารที่ไม่ผ่าน ความร้อน ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร และหลังจากถ่ายอุจจาระ หรือสัมผัสสิ่งสกปรกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคทั้งจากตนเองไปสู่ผู้อื่น กรณีที่ป่วยให้หยุดงาน หยุดเรียน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ให้มีมาตรการคัดกรองผู้ป่วยให้หยุดเรียนจนกว่าจะหาย เน้นมาตรการสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน และเพิ่มความเข้มข้น ความถี่ ในการทำความสะอาด จุดเสี่ยงในโรงเรียนเพื่อฆ่าเชื้อ 3. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่มีพฤติกรรมในการป้องกันควบคุมโรค คือการปฏิบัติตนให้ถูกสุขอนามัย ด้วยการรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ สะอาด ไม่รับประทานอาหารสุกๆดิบๆ และอาหารค้างมื้อ งดทานอาหารที่ไม่ผ่านความร้อน ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารและหลังจากถ่ายอุจจาระ หรือสัมผัสสิ่งสกปรก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคทั้งจากตนเอง ไปสู่ผู้อื่น กรณีที่ป่วยให้หยุดงาน หยุดเรียน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ 4. ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งให้ดำเนินการ เฝ้าระวังมาตรฐานด้นสุขาภิบาลอาหารในสถานที่จำหน่ายอาหาร ประกอบด้วย ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ตลาดสด ตลาดนัด และอาหารริมบาทวิถี ทำความสะอาดบริเวณพื้นที่สาธารณะ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น คลอรีน กำกับดูแลระบบบำบัดน้ำเสียของหน่วยงาน ในการฆ่เชื้อด้วยคลอรีนก่อนปล่อยสู่ แหล่งน้ำสาธารณะ ติดตาม กำกับดูแลระบบประปาของหน่วยงาน และประปาชุมชน ให้มีค่าคลอรีน อิสระคงเหลือปลายท่อ 0.5 – 1 ppm, และมีการสุ่มตรวจ เพื่อเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ประสานประปาภูมิภาคให้ดำเนินการติดกตาม กำกับดูแลระบบประปาของหน่วยงาน และ ให้มีคำคลอรีนอิสระคงเหลือปลายท่อ 0.5 – 1 ppm. และมีสุ่มตรวจ เพื่อ อย่างต่อเนื่อประเมินและประสานสถานประกอบการที่ผลิตน้ำดื่ม และน้ำแข็ง เพื่อตรวจสอบเฝ้าระวัง ความปลอดภัย โดยดำเนินการตรวจสอบกระบวนการฆ่าเชื้อและการควบคุมกระบวนการผลิต รวมถึงเน้นย้ำผู้ประกอบการกวดชันเกี่ยวกับสุขลักษณะที่ดีของพนักงานในกระบวนการผลิต และควบคุม ไม่ให้เกิดการปนเปื้อนในขั้นตอนการขนส่งน้ำแข็ง เพื่อลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนเชื้อ ดำเนินการเฝ้าระวังเชื้อในพื้นที่โดยการเก็บตัวอย่าง น้ำ น้ำแข็ง น้ำใช้ อุจจาระ และอาเจียน เพื่อส่งตรวจหาเชื้อก่อโรค (อยู่ระหว่างรอผล)

Subscribe