รมว.ดีอีเอส ติดตามผลงานการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการควบคุมดูแลนักท่องเที่ยว

“ชัยวุฒิ” รมว.ดีอีเอส ลงพื้นที่ จ.ภูเก็ต ติดตามผลการดำเนินงานของกระทรวงฯ ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการควบคุมดูแลนักท่องเที่ยว และ โควิด ในโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ เล็งต่อยอดแอปหมอชนะ หนุนแผนเปิดประเทศนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ได้เดินทางลงพื้นที่ตรวจราชการ จ.ภูเก็ต และ เยี่ยมชมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการควบคุมดูแลนักท่องเที่ยว และการควบคุมโควิด ในโครงการภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ พร้อมเยี่ยมชมศูนย์ปฏิบัติการ ที่เป็นการบูรณาการทำงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อนำร่องขับเคลื่อนแผนการเปิดประเทศฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เริ่มจากภูเก็ต ก่อนใช้เป็นต้นแบบขยายผลสู่จังหวัดอื่นๆ ที่มีความพร้อมต่อไป โดยมี นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต หัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมนายชัยวุฒิ กล่าวว่า กระทรวงดิจิทัลฯ โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ในการช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีให้กับการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ เช่น ระบบติดตามบุคคลโดยการตรวจจับใบหน้า, ระบบติดตามตัวหมอชนะ, Dash Board ที่ใช้สำหรับรายงานสถานการณ์ แจ้งเตือนในระบบ Phuket Tourism Sandbox, ระบบ Shaba Plus และ ระบบตรวจสอบนักท่องเที่ยวเพื่อใช้ในการกักตัว เป็นต้นและในอนาคตทางกระทรวงมีแผนที่เรายังขยายผลการใช้งานแอปหมอชนะ เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล ที่จะเปิดรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในจังหวัดอื่นๆ เพิ่มเติมจากภูเก็ต ที่ผ่านมามีการตรวจสอบมาตรการของแอปฯ แล้ว พบว่าแอปสามารถแจ้งเตือนได้จริง โดยระบบจะแจ้งเตือนไปที่ห้องควบคุมหากพบว่ามีผู้ฝ่าฝืนออกนอกพื้นที่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถติดตามกลับเข้าพื้นที่ได้ ควบคู่กับการตรวจคัดกรองโควิดชาวต่างชาติก่อนเข้าพื้นที่แบบ RT-PCR 3 ครั้ง ระหว่างที่ท่องเที่ยวอยู่ในพื้นที่ด้วยจึงทำให้มั่นใจมากขึ้นเรื่องป้องกันความการแพร่เชื้อ รองรับการผลักดันการเปิดประเทศเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ให้เมืองไทยกลับมาเป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับต้นๆ ของโลกได้เหมือนเดิม ภายใต้วิถีชีวิตปกติใหม่”นายชัยวุฒิ กล่าวต่ออีกว่า ดีป้า ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดดีอีเอส ได้ขับเคลื่อนและพัฒนาแพลตฟอร์ม จัดเก็บและบริหารข้อมูลเมืองมาอย่างต่อเนื่อง โดยบูรณาการการทำงานกับ บริษัท ภูเก็ตพัฒนาเมือง จำกัด และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ติดตั้งกล้องซีซีทีวีบริเวณหาดป่าตอง และทุกแยกจราจร ให้ทำงานร่วมกับโซลูชันตรวจจับใบหน้า เพื่อตรวจสอบและติดตามผู้กระทำผิด และส่งการแจ้งเตือนสู่ศูนย์ฯ ก่อนนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และนำไปใช้วางแผน บริหารจัดการ และแก้ไขปัญหาของเมือง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการท่องเที่ยว ด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม และด้านอสังหาริมทรัพย์

ขณะที่ ในระยะต่อไปวางเป้าหมายการเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัดภูเก็ตเข้าด้วยกัน เพื่อเกิดประโยชน์ต่อประชาชนในจังหวัด ก่อนนำไปสู่การขับเคลื่อนภูเก็ตเมืองอัจฉริยะ (Phuket Smart City)ในโอกาสนี้ รมว.ดิจิทัลฯ ได้เยี่ยมชมการปฏิบัติงานศูนย์ Phuket Sandbox (ณ ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ 191 ตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต) ซึ่งมีระบบเชื่อมโยงข้อมูลของนักท่องเที่ยวและระบบติดตามตัวนักท่องเที่ยว กับหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งเดินทางไปเยี่ยมชมศูนย์ IOC (Intelligence Operation Center) หรือ Command Center ซึ่งเป็นศูนย์บัญชาการและรวบรวมข้อมูลระดับเมืองของเทศบาลป่าตอง เป็นการขยายผลสู่ระดับจังหวัดที่ดำเนินการร่วมกับ จังหวัดภูเก็ต องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน โดยศูนย์ดังกล่าวมีการนำแพลตฟอร์มจัดเก็บและบริหารข้อมูลเมือง (City data Platform: CDP)

Subscribe