เตรียมยกเว้นการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ภายในท่าอากาศยาน

จังหวัดภูเก็ตประชุมหารือการยกเว้นการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR ภายในท่าอากาศยานในความรับผิดชอบของบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)ผู้สื่อข่าวรายงาน ที่ ห้องประชุมท่าอากาศยานภูเก็ต นายพิเชษฐ์ ปาณะพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมหารือตามที่กระทรวงคมนาคมขอความอนุเคราะห์ให้ยกเว้นการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR ภายในท่าอากาศยานในความรับผิดชอบของบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)โดยมี นายมนต์ชัย ตะโหมด ผู้อำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ต และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมนายพิเชษฐ์ กล่าวว่า ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงคมนาคมได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมการเตรียมความพร้อมรองรับนโยบายการเปิดประเทศในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ณ ท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564 และภายหลังบริษัทท่าอากาศยานไทยจำกัด (มหาชน) (ทอท.) ในฐานะผู้ดำเนินการและจัดการท่าอากาศยานในความรับผิดชอบทั้ง 6 แห่งพบว่า ขั้นตอนการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR ต้องใช้บุคลากรสาธารณสุขจำนวนมากและต้องจัดเตรียมพื้นที่รอคอยสำหรับการตรวจหาเชื้อ ทอท. จึงมีหนังสือที่ ทอท.4719/2564 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2564 เรื่อง ขอความอนุเคราะห์ยกเว้นการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR ภายในท่าอากาศยานในความรับผิดชอบของ ทอท.ทางจังหวัดภูเก็ตจึงได้ร่วมประชุมกับท่าอากาศยานภูเก็ตและหน่วยงานี่เกี่ยวข้องในการหามาตราการเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารให้มากที่สุดแต่ก็ต้องอยู่ภายใต้มาตราการควบคุมโรคโดยเคร่งครัดเช่นกันทั้งนี้ท่าอากาศยานภูเก็ต (ทภก.) ได้ตระหนักถึงแนวทางปฏิบัติในการตรวจคัดกรองผู้โดยสารให้เป็นไปตามมาตรฐานสาธารณสุขที่รัฐบาลกำหนดไว้อย่างเคร่งครัดและปฏิบัติตามกระบวนการผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศ ณ ท่าอากาศยานภูเก็ตและท่าอากาศยานภูเก็ต คาดการณ์ว่าในเดือนพฤศจิกายน 2564 จะมีผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศเฉลี่ย 2,387 คนต่อวัน พิจารณาแล้ว จากประมาณการผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นประกอบกับข้อจำกัดทางด้านกายภาพของ ท่าอากาศยานภูเก็ตอาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการตรวจหาเชื้อฯ ภายในท่าอากาศยานและกระทบต่อกระบวนการผู้โดยสารขาเข้าและคุณภาพการให้บริการของท่าอากาศยานโดยตรง เกิดความแออัดในอาคารผู้โดยสาร อีกทั้งไม่สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวในอนาคตได้ จึงเห็นควรขอความอนุเคราะห์ยกเว้นการตรวจหาเชื้อฯ ภายในท่าอากาศยานภูเก็ตและขอให้พิจารณาให้มีการตรวจหาเชื้อฯ ณ โรงแรงหรือสถานที่พักหรือสถานที่กักกันที่ทางราชการกำหนด หรือสถานที่ที่โรงพยาบาลคู่ปฏิบัติกำหนดแล้วแต่กรณี ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินการและการปฏิบัติงานภายใน ท่าอากาศยานภูเก็ตมีความสะดวกรวดเร็วและเกิดประสิทธิภาพในการบริการมากยิ่งขึ้น

Subscribe