กลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยวรายเล็ก รวมตัวเรียกร้องยกเลิก SHA+

กลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยวรายเล็ก รวมตัวเรียกร้องยกเลิก SHA+ เป็นการออกกฎกีดกันการทำมาหากินผู้ประกอบการรายเล็ก เอื้อประโยชน์คนบางกลุ่มกลุ่มผู้ได้รับกระ ทบจาก SHA+ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการท่องเที่ยวขนาดย่อม โดยเฉพาะโรงแรมที่พักและรถโดยสารส่วนบุคคล จำนวนประมาณ 100 คน รวมตัวกันบริเวณสวน 72 พรรษามหาราชินี หรือลานมังกร พร้อมด้วยป้ายข้อความต่างๆ อาทิ ปัญหา SHA plus ยุ่งยาก…มากขั้นตอนในการเข้าระบบออนไลน์ ลุงป้าน้าอา..ตาสีตาสา..ทำยังไง!, SHA+ ทำให้พวกเราเดือดร้อน, SHA plus คือ ฆาตกรเลือดเย็น เป็นต้น เพื่อเรียกร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยกเลิกการทำ SHA+ เนื่องจากมีความไม่เป็นธรรมกับผู้ประกอบการรายเล็ก จากนั้นได้เดินทางไปยังสำนักงานการท่องเที่ยวแห่ปงระเทศไทย (ททท.) สำนักงานภูเก็ต เพื่อยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต โดยมี นายพิเชษฐ์ ปาณะพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และนางสาวนันทศิริ รณศิริ ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานภูเก็ต เป็นผู้รับหนังสือ ท่ามกลางการดูแลความเรียบร้อยของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และฝ่ายปกครองทั้งในและนอกเครื่องแบบ บรรยากาศเป็นไปด้วยเรียบร้อย แต่เนื่องจากไม่สามารถหาข้อยุติได้ จึงได้ให้ผู้เดือดร้อนส่งตัวแทนเข้าพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาที่เกิด ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง ที่ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ตนางสาวทิพสุคนธ์ ทองตัน หนึ่งในผู้ได้รับความเดือดร้อน กล่าวว่า เนื่องจากในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ รัฐบาลได้ประกาศเปิดประเทศโดยไม่ต้องกักตัว ทำให้ผู้ประกอบการในจังหวัดภูเก็ตมีความหวังในการสร้างรายได้หลังจากที่ไม่มีรายได้มาประมาณ 2 ปี เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 แต่ในความเป็นจริงผู้ประกอบการท่องเที่ยวขนาดย่อม โดยเฉพาะ โรงแรมที่พัก และรถโดยสารส่วนบุคคล ไม่สามารถที่จะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ เนื่องจากต้องมีมาตรฐาน SHA+ คือ มาตรฐาน SHA และบวกด้วยพนักงานฉีดวัคซีนเกิน 70% ก็สามารถสมัครเข้าร่วมมาตรฐานดังกล่าวได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วการเข้าถึงมาตรฐานเหล่านี้ยากมาก เนื่องจากไม่มีเจ้าภาพที่ชัดเจนในการสอบถามและติดตามผล  ทำให้เกิดความล่าช้าในการขอ SHA plus ก่อให้เกิดการสูญเสียโอกาสในการทำมาหากิน หารายได้, การสมัครผ่านช่องทางออนไลน์อย่างเดียว โดยมีขั้นตอนและวิธีการซับซ้อนมาก ผู้ประกอบการที่ไม่มีความเชี่ยวชาญในการใช้ระบบ ไม่สามารถเข้าถึงการสมัครได้ และไม่มีบุคลากรให้ติดต่อเพื่อขอความช่วยเหลือในการสมัคร, การอนุมัติใช้เวลานาน โดยไม่ทราบสาเหตุ ไม่มีการชี้แจงเหตุผลของความล่าช้า รวมทั้งมีการนำเงื่อนไขอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุขเข้ามาผูกกับการพิจารณา SHA plus เพื่อจำกัดสิทธิและโอกาสในการให้บริการลูกค้าอย่างมีนัยยะแอบแฝง ซึ่งอุปสรรคดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการจำนวนมาก สูญเสียโอกาสในการสร้างรายได้ และทำให้เกิดผลกระทบต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตโดยรวมนอกจากนี้การบังคับนักท่องเที่ยวให้ใช้บริการ SHA plus ในบางธุรกิจ เช่น โรงแรม, รถรับแขกจากสนามบิน ในขณะที่สถานที่ และกิจการทั่วไป อื่นๆ ที่ลูกค้าต้องไปใช้บริการ ไม่ถูกจำกัด เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ปั๊มน้ำมัน และอื่นๆ ถือเป็นการสร้างความเหลื่อมล้ำ ในสังคม และเศรษฐกิจ ประกอบกับในสถานการณ์ปัจจุบันจังหวัดภูเก็ต มีการฉีดวัคซีน 2 เข็มเกิน 70% เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นทางกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจึงเห็นว่าไม่ควรมีการใช้มาตรฐาน SHA+ อีกต่อไป เพราะเป็นการกีดกันทางการค้าทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ แต่ทางกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบยังคงสนับสนุนมาตรฐาน SHA และ PHUKET SANDBOX ต่อไป ซึ่งปัจจุบัน ผู้ประกอบการโรงแรมที่พักที่ปรากฏอยู่ในอโกด้ามีจำนวนกว่า 10,000 ราย แต่ที่ได้รับชาพลัสมีไม่ถึง 10% เนื่องจากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นด้านนายพิเชษฐ์ ปาณะพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวภายหลังรับหนังสือว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการขนาดเล็กในภูเก็ตมีอยู่ประมาณ 10,000 ราย แต่จากเกณฑ์การรับนักท่องเที่ยวในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ กลุ่มนี้บางส่วนไม่สามารถรับนักท่องเที่ยวได้ เนื่องจากไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายโรงแรม ซึ่งเป็นหนึ่งในเงื่อนไขของชาร์พลัส คือ จะต้องเป็นโรงแรมที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายโรงแรม, ได้รับ SHA จาก ททท. มาก่อน และพนักงานต้องได้รับการฉีดวัคซีนแล้วอย่างน้อย ร้อยละ 70 แต่ได้ชี้แจง ไปแล้วว่า ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนนั้น นักท่องเที่ยวที่เข้ามาจะต้องพักในโรงแรมที่มีชาร์พลัสเพียง 1 คืนเท่านั้น ส่วนเหลือสามารถเลือกพักในที่พักอื่นๆ ได้ แต่ผู้ประกอบการต้องการให้ยกเลิกชาร์พลัสไปเลย เนื่องจากคนภูเก็ตฉีดวัคซีนแล้วกว่าร้อย 70 โดยได้รับเรื่องไว้ และจะได้พูดคุยกับหน่วยเหนือที่รับผิดชอบพิจารณาแก้ไขต่อไป

Subscribe