ท่าเทียบเรือรัษฎา ภูเก็ต นำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการจัดระเบียบรถยนต์รับจ้างสาธารณะ

ท่าเทียบเรือรัษฎา ภูเก็ต นำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการจัดระเบียบรถยนต์รับจ้างสาธารณะ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

ที่ ห้องประชุมท่าเทียบเรือรัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต บริษัท ซีทราน ทราเวิล จำกัด โดย นางสาวพรรัตน์ ตัณฑ์ไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการฯ ผู้บริหารท่าเรือรัษฎา ชี้แจงรายละเอียดการจัดระเบียบรถยนต์รับจ้างสาธารณะที่มารับและส่งผู้โดยสารภายในท่าเทียบเรือรัษฎา หลังจากได้ร่วมกับทางสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สาขาภาคใต้ตอนบน นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการจัดระเบียบรถยนต์รับจ้างสาธารณะที่มารับและส่งผู้โดยสารภายในท่าเทียบเรือรัษฎา โดยนำมาใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของการจดทะเบียนเป็นรถยนต์รับจ้างสาธารณะ การจัดลำดับในการรับและส่งผู้โดยสารของรถยนต์รับจ้างสาธารณะ การกำหนดอัตราการค่าโดยสารให้เหมาะสม เป็นต้น โดยมีนายประชา อัศวธีระ ผู้จัดการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ภาคใต้ตอนบน, ผู้แทน กอ.รมน.ภูเก็ต, ตำรวจท่องเที่ยว, งานจราจร สภ.เมืองภูเก็ต, ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง, อบจ.ภูเก็ต , ผู้แทนจากเทศบาลตำบลรัษฎา และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมรับฟัง

นางสาวพรรัตน์ ตัณฑ์ไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการฯ กล่าวว่า สืบเนื่องจากโครงการต่อเนื่อง Smart Harbour ซึ่งท่าเทียบเรือเป็นเป้าหมายหลักในกาพัฒนาของจังหวัดภูเก็ต ในการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้ท่าเทียบเรือต่างๆ มีศักยภาพ และมีมาตรฐานการบริการที่ได้ระดับสากล ซึ่งท่าเทียบเรือรัษฎาเป็นท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ มีผู้โดยสารเข้ามาใช้บริการเป็นจำนวนมาก ช่วงโลว์ซีชั่น มีผู้โดยสาร 2,000 คนต่อวัน และในช่วงไฮซีซั่นมีผู้โดยสาร 3,00-4,000 คนต่อวัน ให้บริการเดินทางจากภูเก็ตไปยังเกาะต่างๆ อาทิ เกาะพีพี เกาะลันตา เกาะหลีเป๊ะ เป็นต้น และยังมีเรือเฟอรี่ที่ได้ดำเนินการให้บริการมามากกว่า 20 ปี

ทางบริษัท ซีทราน ทราเวิล จำกัด ซึ่งเป็นผู้ได้รับสัมปทานในการบริหารท่าเทียบเรือรัษฎาจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต (อบจ.ภูเก็ต) ได้ส่งเสริมให้นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 มาอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมาท่าเทียบเรือรัษฎาได้รับคำแนะนำ สนับสนุนจาก สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Depa) ได้เริ่มต้นโดยบริษัทยัคโก้ เป็นผู้เขียนระบบให้ตรงตามความต้องการ ในการตรวจนับ คัดแยกผู้โดยสาร ช่วงแรกจะเป็นการทดลองใช้ระบบผ่านท่าด้วยระบบ Turnstile ซึ่งในอนาคตระบบจะรองรับการตรวจ QR CODE ที่สามารถแสดงข้อมูลผู้โดยสารโดยละอียด

นอกจากนี้ท่าเทียบเรือรัษฎายังเป็นหนึ่งในท่าเรือในโครงการที่มีการติดตั้งกล้องตรวจจับใบหน้าที่ได้รับการสนับสนุนจากเงินทุนส่งเสริมของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุรรรณภูมิ ด้วยการประสานงาน จาก สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Depa) เป็นกล้อง CCTV ที่สามารถตรวจจับใบหน้าพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคล ซึ่งสามารถคัดกรองหรือติดตามผู้ต้องสงสัยได้ และยังร่วมกับกรมการขนส่งทางบกที่เข้ามาช่วยตรวจสอบข้อมูลรถที่ได้รับการลงทะเบียน เพื่อคัดกรองรถเข้ารับส่งผู้โดยสาร ให้ลูกค้ามีความมั่นใจว่า รถที่มาใช้บริการได้ผ่านการตรวจสอบว่าถูกต้อง

อย่างไรก็ตามท่าเทียบเรือรัษฎาเข้าใจถึงการประกอบการรถแท็กซี่ท้องถิ่น จึงมีการดำเนินการจัดคิวแท็กซี่ ให้ผู้ประกอบการรถแท็กซี่ท้องถิ่นได้รับคิวเข้ามาบริการลูกค้าคิดเป็นร้อยละ 70 ของคิวแท็กซี่ทั้งหมด

ในการจัดทำระบบครั้งนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้แก่ ราคาที่แตกต่างกันเป็นอย่างมากระหว่าแท็กซี่แอพพลิเคชั่น กับแท็กซี่คิว, การทะเลาะวิวาทที่เกิดจากการปิดกั้นแท็กซี่แอพพลิเคชั่น, การล่าช้าและไม่เป็นระเบียบในการเข้าออก รวมทั้งความต้องการใช้บริการแท็กซี่ไม่พอดีกับการจัดระ โดยมีการยกการเก็บคอมมิชชั่นมาเป็นการเก็บเพื่อจัดราคาขายให้ลดลง แท็กซี่ได้กำไรมากขึ้น, เก็บแท็กซี่แอพพลิเคชั่นในการเข้ารับผู้โดยสาร 50บาทต่อคัน เพื่อให้รถแอพพลิเคชั่นเพิ่มราคาค่าบริการ ทั้งนี้จะมีการกั้นทางเดินรถป้องกันลูกค้าลากกระเป๋าออกไปขึ้นรถด้านนก , นำระบบเข้ามาใช้ในการจัดการเข้าออกท่าเทียบเรือ ลดเวลาในการชำระเงิน เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว สะดวกมากยิ่งขึ้นด้วยการใช้บัตร และเพิ่มระบบให้ลูกค้าสามารถกดคิวเรียกแท็กซี่ได้ด้วยตนเอง

อย่างไรก็ตามการดำเนินการจัดระเบียบรถเข้าออกในครั้งนี้ มีเป้าหมาย พัฒนาและนำเทคโนโลยีมาใช้ให้ท่าเทียบเรือมีศักยภาพ และมีมาตรฐานการริการที่ได้รับดับสากล รวมทั้งช่วยแก้ไขปัญหา และจัดระเบียบการเข้าออกท่าเทียบเรือให้สะดวก ไม่ติดขัดและรวดเร็วยิ่งขึ้น โยจะเริ่มทดลองดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม เป็นต้นไป เบื้องต้นมีรถแท็กซี่ลงทะเบียนเข้าร่วมในการใช้ระบบแล้วประมาณ 200 คัน ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบคุณสมบัติว่าเป็นรถที่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ นางสาวพรรัตน์กล่าว

Subscribe