ประชุมความคืบหน้าการดำเนินการของจังหวัดนำร่องในการเปิดรับนักท่องเที่ยว

จังหวัดภูเก็ต ร่วมประชุม ศปก.ศบค. และศูนย์บูรณาการแก้ไขสถานการณ์โควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ร่วมกับ ศปก.ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ผ่านระบบประชุมออนไลน์ ZOOM  Meeting เพื่อรายงานความคืบหน้าการดำเนินการของจังหวัดนำร่องในการเปิดรับนักท่องเที่ยว

ผู้สื่อข่าวรายงาน ที่ ศูนย์ปฏิบัติการ Phuket Sandbox (ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ 191 ตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต) นายแพทย์กู้ศักดิ์ กู้เกียรติกูล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต เป็นประธาน นำหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดภูเก็ตเข้าร่วม การประชุม ศปก.ศบค. และศูนย์บูรณาการแก้ไขสถานการณ์โควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ร่วมกับ ศปก.ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ผ่านระบบประชุมออนไลน์ ZOOM Meeting โดยจังหวัดภูเก็ต ได้รายงานความคืบหน้า การดำเนินการของจังหวัดนำร่องในการเปิดรับนักท่องเที่ยว ข้อมูลวันที่ 6 ตุลาคม 2564 จังหวัดภูเก็ตมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 179 คน ทั้งนี้ จังหวัดภูเก็ตได้ดำเนินการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชน กลุ่มเป้าหมาย 547,584 คน ซึ่งรัฐบาลได้สนับสนุนวัคซีน และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ให้แก่จังหวัดภูเก็ต จนถึงขณะนี้ชาวภูเก็ตภูเก็ตได้รับวัคซีนเกือบ 100% โดย ได้รับการฉีดวัคซีน 1 เข็มแล้ว 79.10 %  ฉีดวัคซีน ครบ 2 เข็มแล้ว 74% และกำลังเร่งฉีดเข็มที่ 3 ซึ่งได้ฉีดไปแล้ว 36% โดยตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม -5 ตุลาคม 2564 มีนักท่องเที่ยวตามโครงการภูเก็ตแซนบ๊อกทั้งสิ้น 42,006 คน พบผู้ติดเชื้อ 133 คน นักท่องเที่ยวเดินทางกลับประเทศต้นทางแล้ว 14,117 คน /นักท่องเที่ยวเดินไปท่องเที่ยวในจังหวัดอื่น ๆ ของประเทศไทย 27,889คน/ และยังคงมีนักท่องเที่ยวอยู่ในจังหวัดภูเก็ตจำนวน 4,241 คน ข้อมูลยอดจองห้อง SHA+ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2564 ถึงกุมภาพันธ์ 2565  จำนวน 754,77 Pax/night อย่างไรก็ตามภาพรวมการดำเนินการตามแผนภูเก็ตแซนบ๊อกยังคงเดินหน้าต่อไปได้

โดย การควบคุมโรคในพื้นที่ขณะนี้จังหวัดได้ดำเนินการ ตรวจเชิงรุกในพื้นที่ โดยสิ่งสำคัญคือ เมื่อพบผู้ติดเชื้อจะต้องนำเข้าสู่ระบบการรักษา โดยทันที ขณะนี้จังหวัดภูเก็ตเปิดโครงการพิชิตโควิด-19 “คลินิกอุ่นใจ” ณ หอประชุมศาลากลางจังหวัดภูเก็ตหลังใหม่ ถนนท่าแครง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต โดย คลินิกอุ่นใจ เป็นศูนย์บริหารจัดการผู้ติดเชื้อโควิดแบบครบวงจร มีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการไม่ให้มีผู้ติดเชื้อในชุมชนตกค้าง รวมถึงการขยายโอกาสให้ผู้ติดเชื้อทุกรายเข้าถึงบริการที่รวดเร็วและสะดวก โดยพิจารณาตามระดับความรุนแรงของอาการและปัจจัยเสี่ยงตามความเหมาะสม รวมถึงอำนวยความสะดวกให้เป็นศูนย์พักคอยแก่ผู้ติดเชื้อ จนสามารถจัดหาที่พักได้ โดยเปิดให้บริการติดต่อ สอบถาม ประสานงานแบบจุดเดียวจบ (One stop service call center จำนวน 20 คู่สาย ที่หมายเลข 0-7625-4200, ผู้ที่มีผล ATK เป็นบวกจะได้รับการตรวจยืนยัน, ให้บริการตรวจ/วินิจฉัย/รักษา ตรวจทางห้องปฏิบัติการและตรวจทางรังสีเบื้องต้นโดยบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทางแต่ละสาขา, ในรายที่สามารถกักตัวที่บ้าน ที่ชุมชน ที่โรงแรม จะมีทีมงานดูแลรักษาตามอาการเบื้องต้น รวมถึงให้ฟ้าทะลายโจร หรือ ยาฟาวิพิราเวียร์ในรายที่จำเป็นพร้อมติดตามอาการและให้คำปรึกษาทุกวัน  จนถึงขณะนี้มีประชาชน เดินทางมาใช้ บริการ วันละ50-60 คน โดยส่วน กลางได้สั่งการให้จังหวัดภูเก็ตศึกษาจำนวนผู้ติดเชื้อในจังหวัดภูเก็ตว่าเป็นกลุ่มใดเพื่อวางแผนในการควบคุมโรครวมถึงการดูแลฉีดวัคซีนและการ ควบคุมโรค ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว

พ.ต.อ.ธเนศ สุขชัย ผู้กำกับการตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต รายงานว่า ในช่วงแรกมีการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานต่างด้าวจังหวัดภูเก็ตจึงดำเนินการ ตรวจเชิงรถกในแคมป์คนงานจำนวน 429 แคมป์ แรงงานต่างด้าว 19,000 คน  และจังหวัดภูเก็ตได้มีการปฏิบัติการปราบปรามแรงงานต่างด้าวไร้ระเบียบจังหวัดภูเก็ตโดยมีการดำเนินการตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคมถึงวันที่ 5 ตุลาคม 2554 โดยมีกลุ่มเป้าหมายจำนวน 338 จุดและดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แรงงานต่างด้าวไปแล้ว 16,165 ราย ทำการตักเตือนแรงงานต่างด้าว 45  ราย และมีการจับกุมผู้กระทำความผิด 9 ราย นอกจากนี้ในส่วนของจังหวัดภูเก็ตได้มีคำสั่งห้ามเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ

Subscribe