ประชุมแก้ไขสถานการณ์โควิด-19

จังหวัดภูเก็ต ร่วมประชุม ศปก.ศบค.และศูนย์บูรณาการแก้ไขสถานการณ์โควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ร่วมกับ ศปก.ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ผ่านระบบประชุมออนไลน์ ZOOM Meeting เพื่อรายงานความคืบหน้าการดำเนินการของจังหวัดนำร่องในการเปิดรับนักท่องเที่ยว

ที่ ศูนย์ปฏิบัติการPhuket Sandbox (ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ 191 ตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต) นายอานุภาพ รอดขวัญ ยอดระบำ ปลัดจังหวัดภูเก็ต เป็นประธาน นำ หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดภูเก็ตเข้าร่วม การประชุม ศปก.ศบค. และศูนย์บูรณาการแก้ไขสถานการณ์โควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ร่วมกับ ศปก.ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ผ่านระบบประชุมออนไลน์ ZOOM Meeting โดยจังหวัดภูเก็ต ได้รายงานความคืบหน้า

การดำเนินการของจังหวัดนำร่องในการเปิดรับนักท่องเที่ยว โดยมีประเด็นที่สำคัญ ยอดสะสมเที่ยวบินตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม -19 กันยายน2564 มีเที่ยวบินเข้ามาในจังหวัดภูเก็ตจำนวน 433 เที่ยว มีนักท่องเที่ยวตามโครงการภูเก็ตแซนบ๊อกทั้งสิ้น 34,707 คน พบผู้ติดเชื้อ 98 คน รักษาหายแล้ว 74 คน ข้อมูลณวันที่ 20 กันยายน2564 โดยนักท่องเที่ยวเดินทางกลับประเทศต้นทางแล้ว 11,268 คน /นักท่องเที่ยวเดินไปท่องเที่ยวในจังหวัดอื่น ๆ ของประเทศไทย 23,537 คน/ และยังคงมีนักท่องเที่ยวอยู่ในจังหวัดภูเก็ตจำนวน 6,238 คน ข้อมูลยอดจองห้อง SHA+  ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2564 จำนวน 534,468 Pax/night อย่างไรก็ตามภาพรวมการดำเนินการตามแผนภูเก็ตแซนบ๊อกยังคงเดินหน้าต่อไปได้

นายแพทย์เฉลิมพงษ์ สุคนธผล ผู้อำนวยการ รพ.วชิระภูเก็ต กล่าวถึง การควบคุมโรคในพื้นที่ขณะนี้จังหวัดได้ดำเนินการ ตรวจเชิงรุกในพื้นที่ โดยสิ่งสำคัญคือ เมื่อพบผู้ติดเชื้อจะต้องนำเข้าสู่ระบบการรักษา โดยทันที ขณะนี้จังหวัดภูเก็ตเปิดโครงการพิชิตโควิด-19 “คลินิกอุ่นใจ” ณ หอประชุมศาลากลางจังหวัดภูเก็ตหลังใหม่ ถนนท่าแครง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต โดย คลินิกอุ่นใจ เป็นศูนย์บริหารจัดการผู้ติดเชื้อโควิดแบบครบวงจร มีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการไม่ให้มีผู้ติดเชื้อในชุมชนตกค้าง รวมถึงการขยายโอกาสให้ผู้ติดเชื้อทุกรายเข้าถึงบริการที่รวดเร็วและสะดวก โดยพิจารณาตามระดับความรุนแรงของอาการและปัจจัยเสี่ยงตามความเหมาะสม รวมถึงอำนวยความสะดวกให้เป็นศูนย์พักคอยแก่ผู้ติดเชื้อ จนสามารถจัดหาที่พักได้ โดยเปิดให้บริการติดต่อ สอบถาม ประสานงานแบบจุดเดียวจบ (One stop service call center จำนวน 20 คู่สาย ที่หมายเลข 0-7625-4200, ผู้ที่มีผล ATK เป็นบวกจะได้รับการตรวจยืนยัน, ให้บริการตรวจ/วินิจฉัย/รักษา ตรวจทางห้องปฏิบัติการและตรวจทางรังสีเบื้องต้นโดยบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทางแต่ละสาขา, ในรายที่สามารถกักตัวที่บ้าน ที่ชุมชน ที่โรงแรม จะมีทีมงานดูแลรักษาตามอาการเบื้องต้น รวมถึงให้ฟ้าทะลายโจร หรือ ยาฟาวิพิราเวียร์ในรายที่จำเป็นพร้อมติดตามอาการและให้คำปรึกษาทุกวัน

โอกาสนี้ที่ประชุมได้มีการหารือเกี่ยวกับประชากรแฝงที่อยู่ในจังหวัดภูเก็ตให้เข้าสู่กระบวนการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 โดยเบื้องต้นผู้ดูแลระบบ www.ภูเก็ตต้องชนะ .com จะส่ง SMS (ข้อความ) ไปยังหมายเลขโทรศัพท์ ของประชากรแฝง เพื่อแจ้งสิทธิ์การฉีดวัคซีน ดังนั้นขอให้ประชากรแฝงที่ทำงานและอาศัยอยู่ในจังหวัดภูเก็ต รอSMS (ข้อความ) จาก www.ภูเก็ตต้องชนะ .comระดมทีมเชิงรุก CCR Team จากเขตสุขภาพที่ 11-12 ค้นหาผู้ติดเชื้อใน จ. ภูเก็ต สร้างความเชื่อมั่นภาคการท่องเที่ยว

กระทรวงสาธารณสุข ระดมทีมเชิงรุก CCR Team จากเขตสุขภาพที่ 11-12 จำนวน 9 ทีม ลงพื้นที่ค้นหา ผู้ติดเชื้อในจังหวัดภูเก็ต เพื่อนำเข้าดูแลรักษาตามระบบ เร่งสร้างความเชื่อมั่นภาคการท่องเที่ยวรองรับการเปิดประเทศตามโครงการภูเก็ตแซนด์บอกซ์

นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า จากการที่รัฐบาลขับเคลื่อนโครงการนำร่องเพื่อรองรับการเปิดประเทศที่ จ.ภูเก็ต Phuket Sandbox เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยมีการเตรียมความพร้อมก่อนการเปิดรับนักท่องเที่ยวด้วยการฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้กับคนในจังหวัดจนเกิดความครอบคลุมเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค รวมถึงเตรียมมาตรการทางด้านสาธารณสุขรองรับเพื่อการเปิดเมืองอย่างปลอดภัย ถึงขณะนี้สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้าร่วมโครงการมากกว่า 30,000 ราย ยังไม่พบการแพร่ระบาดในกลุ่มนักท่องเที่ยว พบเพียงผู้ติดเชื้อจากระบบคัดกรอง 96 ราย อย่างไรก็ตามจากรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ของ จ.ภูเก็ต ที่เพิ่มขึ้นวันละกว่า 200 กว่าราย ซึ่งส่วนใหญ่

เป็นคนในพื้นที่และจากการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างชาติมาทำงาน เช่นในวันนี้มีผู้ป่วยรายใหม่ 242 ราย ในจำนวนนี้พบนักท่องเที่ยว 1 ราย อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุขไม่นิ่งเฉย ระดมสรรพกำลังบุคลากรทางการแพทย์

จากชมรมแพทย์ชนบทในเขตสุขภาพที่ 11 และ 12 เป็นหน่วยเชิงรุก CCR Team ลงพื้นที่ค้นหาผู้ติดเชื้อ ในชุมชนที่พบคลัสเตอร์ใน จ.ภูเก็ต จำนวน 9 ทีม ด้วยวิธีการตรวจโดย ATK ซึ่งหากพบผู้ติดเชื้อจะนำเข้าดูแลรักษา ตามระบบ รวมฉีดวัคซีนโควิด 19 ในกลุ่มแรงงานและคนในชุมชนที่ยังไม่ได้รับวัคซีน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด เร่งสร้างความเชื่อมั่นภาคการท่องเที่ยวของประเทศ

นายแพทย์ยงยศกล่าวต่อว่าการลงพื้นที่เชิงรุกของ CCR Team ครั้งนี้ ตั้งเป้าการตรวจจำนวน 25,000 คน ซึ่งหากพบผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ จะนำเข้าระบบ Home Isolation รวมถึงจ่ายยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นในการดูแลตนเอง หรือหากมีอาการจะนำเข้ารักษาในโรงพยาบาลซึ่งยังมีเตียงทุกระดับเพียงพอในการดูแลผู้ติดเชื้อ โดย CCR Team ชุดนี้จะลงพื้นที่ปฏิบัติภารกิจ 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 21 ถึง 23 กันยายน 2564 นอกจากนี้ได้จัดตั้ง “คลินิกอุ่นใจ” ที่ศาลากลางจังหวัดภูเก็ตหลังใหม่ ให้บริการครบวงจร มีการตรวจยืนยันผู้ที่อาจติดเชื้อจากการตรวจ ATK ด้วยตนเองเข้าระบบการรักษา มีเอกซเรย์เคลื่อนที่ และเปิดศูนย์ปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือ จำนวน 20 คู่สาย สำหรับให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง โดยจะเร่งดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์

Subscribe