เปิดเวทีเสวนาความ “ร่วมมือเพื่อยุติเอดส์”

จังหวัดภูเก็ต ร่วมกับ กรมควบคุมโรค และเครือข่ายขับเคลื่อนยุติเอดส์ระดับจังหวัด “Empowering & Collaborating for Ending AIDS” เป็นพื้นที่นำร่องให้ได้ภายในปี 2573 “ไม่ติด ไม่ตาย ไม่ตีตรา”

ผู้สื่อข่าวรายงาน ที่ ห้องประชุม พาโก้แกรนด์ โรงแรม เดอะ พาโก้ ดีไซน์ ภูเก็ต ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต นายพิเชษฐ์ ปาณะพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดโครงการเครือข่ายการขับเคลื่อนยุติปัญหาเอดส์ระดับจังหวัด “Empowering & Collaborating for Ending AIDS โดยมี นายแพทย์ปรีชา เปรมปรี รองอธิบดีกรมควบคุมโรค นายแพทย์กู้ศักดิ์ กู้เกียรติกูล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ผู้อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในภูเก็ต เข้าร่วมนายกู้ศักดิ์ กู้เกียรติกูล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า เอดส์เป็นปัญหาสาธารณสุขที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ ประเทศไทยได้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ ระหว่างปี 2560 -2573 โดยมีเป้าหมายหลัก “ไม่ติด ไม่ตาย ไม่ตีตรา” โดย “ไม่ติด” หมายถึง ลดการติดเชื้อเอซไอวีรายใหมให้เหลือไม่เกิน 1,000 รายต่อปี “ไม่ตาย” หมายถึง ลดการเสียชีวิตในผู้ติดเชื้อเอซไอวีให้เหลือปีละไม่เกิน 4,000 รายต่อปี และ “ไม่ตีตรา” หมายถึง ลดการเลือกปฏิบัติอันเกี่ยวเนื่องจากเอชไอวี และเพศภาวะลงจากเดิมร้อยละ 90จังหวัดภูเก็ต มีเป้าหมายการยุติปัญหาเอดส์ ภายในปี 2573 สอดคล้องกับเจตนารมณ์ที่มุ่งมั่นของประเทศไทย โดยเร่งรัดการเข้าถึงบริการและพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาด้านเอชไอวี จนมีผลลัพธ์การดำเนินงานในช่วง ปี 2561 – 2563 ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับรู้สถานะการติดเชื้อเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 100 เป็นร้อยละ 117 ผู้ติดเชื้อที่ทราบสถานการณ์ติดเชื้อเอชไอวีเข้าถึงบริการได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 66 เป็นร้อยละ 82 และผู้ติดเชื้อที่ได้รับยาต้านไวรัสเอซไอวีสามารถกดปริมาณไวรัสในกระแสเลือดได้สำเร็จ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 83 เป็นร้อยละ 85

จากข้อมูลดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงโอกาสการพัฒนาด้านการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์อย่างต่อเนื่องอันจะส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อการขับเคลื่อนยุติปัญหาเอดส์และพัฒนามาตรฐานคุณภาพบริการป้องกัน ดูแลรักษา ผู้ติดเชื้อเอไอวี เอดส์ รวมทั้งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้บรรลุเป้าหมายนั้นจังหวัดภูเก็ต ร่วมกับ กรมควบคุมโรค สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) และศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข ได้ร่วมกันเป็นเครือข่ายการขับเคลื่อนยุติปัญหาเอดส์ระดับจังหวัด และจัดงานเปิดโครงการเครือข่ายการขับเคลื่อนยุติปัญหาเอดส์ระดับจังหวัด “Empowering & Collaborating for Ending AIDS” โดยมี การจัดพิธีบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่าง กรมควบคุมโรค กับ จังหวัดภูเก็ต และสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) เพื่อยุติปัญหาเอดส์ในระดับจังหวัด การจัดเสวนา หัวข้อ “ความร่วมมือเพื่อยุติเอดส์” ตลอดจนการจัดกิจกรรมรณรงค์วันเอดส์โลก (World AIDS Day) โดยภาคีเครือข่าย ในวันนี้ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมงานจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม องค์กรระหว่าง ประเทศ รวมทั้งสิ้น 100 คน

ด้านนายพิเชษฐ์ ปาณะพงศ์ รองผู้ว่าราชการจัวหวัดภูเก็ต กล่าวว่า เอดส์เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของทั่วโลก ประเทศไทย และจังหวัดภูเก็ต เนื่องจากส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจโดยรวมมาอย่างยาวนาน อีกทั้งช่วงปีที่ผ่านมาได้เกิดวิกฤติการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งส่งผลต่อการป้องกันควบคุมโรคต่าง 1 รวมถึงโรคเอดส์ อย่างไรก็ตาม การเร่งรัดดำเนินงานยุติปัญหาเอดส์ (Ending AIDS) ภายในปี 2573 ยังเป็นนโนบายสำคัญของประเทศ จังหวัดภูเก็ต มีการขับเคลื่อนยุติปัญหาเอดส์ สอดคล้องกับเจตนารมณ์ที่มุ่งมั่นของประเทศไทย ซึ่งจากรายงานของท่านนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต พบว่า ในช่วงปี 2561 – 2563 มีผลลัพธ์การดำเนินงานดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในปี 2564 มีการคาดประมาณผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ยังมีชีวิตอยู่ จำนวน 4,816 ราย ซึ่งสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อเกิดจากมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน ผลการดำเนินงานด้านบริการ มีอัตราผู้ติดเชื้อที่ได้รับการวินิจฉัย (รู้สถานะ) ร้อยละ 115 อัตราผู้ติดเชื้อที่ได้รับยาต้านไวรัส ร้อยละ 83 และอัตราผู้ติดเชื้อที่กดไวรัสได้สำเร็จ ร้อยละ 82ทั้งนี้ จังหวัดภูเก็ต ได้เข้าร่วมเป็นเครือข่ายการขับเคลื่อนยุติปัญหาเอดส์ระดับจังหวัด โดยได้รับการสนับสนุนจากกรมควบคุมโรค สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข รวมทั้งความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ในจังหวัดภูเก็ต เพื่อมุ่งสู่การเป็น

“จังหวัดยุติเอดส์” โดยมีป้าหมายหลัก 3 ประการ คือ 3 ต. ได้แก่ “ไม่ติด ไม่ตาย ไม่ตื่ตรา” และกลยุทธ์สำคัญในการขับเคลื่อนยุติปัญหาเอดส์จังหวัดภูเก็ต ใช้กระบวนการ RRTTR ได้แก่ Reach (เข้าถึง) Recruit (นำกลุ่มเป้าหมายเข้าสู่บริการสุขภาพ) Test (ตรวจหาการติดเชื้อ)Treat (รักษาด้วยยาต้านไวรัส) และ Retain (ทำให้คงอยู่ในระบบ) ซึ่งต้องสร้างความรอบรู้ที่ถูกต้องให้แก่หน่วยงาน องค์กร สถานประกอบการ และประชาชน เรื่องเอชไอวี เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การลดพฤติกรรมเสี่ยง การลดการตีตรา การเข้าถึงบริการ และเครือข่ายสุขภาพทั้งภาครัฐและเอกชนต้องมีการพัฒนาระบบบริการดูแลรักษาอย่างมีคุณภาพการเปิดโครงการเครือข่ายการขับเคลื่อนยุติปัญหาเอดส์ระดับจังหวัด

ในวันนี้ เป็นการแสดงให้เห็นเจตนารมณ์ที่แน่วแน่ของเครือข่ายหน่วยงานและบุคลากรจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เป็นโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความร่วมมือเพื่อยุติปัญหาเอดส์ รวมทั้งเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การขับเคลื่อนยุติปัญหาเอดส์ของจังหวัดภูเก็ต และจะเป็นต้นแบบให้แก่จังหวัดอื่น ๆ ต่อไป

Subscribe