ไทย-อียู ร่วมปลุกจิตสำนึกการแยกขยะให้เยาวชนภูเก็ต

ที่ ห้องประชุมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นายอำนวย พิณสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการจัดการและลดพลาสติกภาคครัวเรือนและธุรกิจจังหวัดภูเก็ต โดยมีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม

ทั้งนี้ โครงการส่งเสริมการใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการปัญหาขยะทะเล ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสหภาพยุโรป (EU) และกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMZ) ดำเนินงานโดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทยร่วมกับเทศบาลนครภูเก็ต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต มูลนิธีเพื่อสิ่งแวดล้อมภูเก็ตและมูลนิธิคุณ (KHUN Foundation) จัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์การลดขยะพลาสติกและการแยกขยะที่ถูกต้องผ่านการแสดงละครหุ่นเชิด (Puppet Show) และการเสวนาเรื่องบทบาทของเยาวชนในการลดพลาสติกและสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 เกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับปัญหาขยะพลาสติก การที่ประชาชนต้องกักตัวในบ้านหรือที่พักของตนเอง ส่งผลให้เกิดการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งจำนวนมากขึ้นจากยอดคำสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ในแอพพลิเคชั่นและการสั่งอาหารจากบริการฟู๊ดเดลิเวอรี่และซื้ออาหารกลับบ้าน พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง เป็นขยะที่ย่อยสลายได้ยาก เมื่อเวลาผ่านไป พลาสติกที่ถูกแสงแดดจะทำให้พลาสติกแตกออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ และไม่สามารถมอบเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือที่เรียกว่าไมโครพลาสติกและสามารถแทรกซิมลงไปในชั้นดิน แหล่งน้ำและปนเปื้อนลงในอาหารและน้ำดื่ม ซึ่งเข้าสู่ร่างกายของเราได้ง่าย และหากเราไม่มีการกำจัดขยะพลาสติกเหล่านี้อย่างถูกต้องจะส่งผลให้ขยะจากบกปะปนและลงสู่ทะเล ทำให้สัตว์ทะเลกินพลาสติกเข้าไปเกิดอาการป่วยและเสียชีวิตในที่สุด

นายอำนวย กล่าวว่า จากนโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยว ส่งผลให้ภูเก็ตสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็ส่งผลให้ประมาณขยะมูลฝอยและขยะพลาสติกเพิ่มมากขึ้นตามอัตราการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยว ด้วยความตระหนักของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน รวมไปถึงภาคประชาชนเอง ทำให้ภูเก็ตมีการขับเคลื่อนด้านการรณรงค์และมาตรการต่าง ๆ ในการรับมือกับปัญหาเหล่านี้ในระดับที่แต่ละฝ่ายสามารถทำได้ และเชื่อว่าการทำงานให้สำเร็จได้นั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายสูงสุดเรื่องการขับเคลื่อนภูเก็ตให้เป็นเมืองที่สะอาด เกิดความยั่งยืนทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมต่อไป

ขณะที่ Dr. Glusappe Busini อัครราชฑูต รองหัวหน้าคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศ กล่าวเสริมว่า ตั้งแต่นโยบายการจัดการพลาสติกของสหภาพยุโรปถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2561 สหภาพยุโรปได้พยายามขับเคลื่อนที่จะจัดการกับปัญหามลพิษขยะพลาสติก โดยการจัดทำโครงการส่งเสริมการใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการปัญหาขยะทะเลขึ้น โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลเยอรมันเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างโครงการใน 7 ประเทศภาคีรวมถึงระหว่างทวีปยุโรปและเอเชียด้วย และมีความปรารถนาดีที่จะทำงานให้กับทุกภาคส่วนเพื่อลดขยะพลาสติกในจังหวัดภูเก็ตตามที่ได้มีการร่างไว้ใน Roadmap

ขณะที่ Dr.Bend Christiansen ที่ปรึกษาฑูตฝ่ายทหารและการเกษตร สถานเอกอัครราชฑูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย เน้นย้ำว่า ปัญหามลภาวะของขยะพลาสติกในทะเลรวถึงขยะประเภทอื่น ๆ เป็นปัญหาระดับโลก การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและการนำระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนมาปรับใช้ นับเป็นสองแนวปฏิบัติที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้

จากการนำร่องโครงการจัดกรและลดพลาสติกภาคครัวเรือนและธุรกิจจังหวัดภูเก็ต ส่งผลให้ความรู้และประสบการณ์ของคนในพื้นที่ได้ถูกนำเข้ามาใช้เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหา ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้นับเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในกระบวนการดำเนินงานของโครงการทั้งยังเป็นกุญแจกที่นำไปสู่ความสำเร็จเพื่อให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่และจะยังมีการค้นหาพลาสติกทางเลือกใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อลดผลกระทบเชิงลบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย

Subscribe