ภูเก็ตเตรียมความพร้อมในการจัดระบบดูแลรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19

ภูเก็ตประชุมเตรียมความพร้อมในการจัดระบบดูแลรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ซึ่งไม่มีอาการป่วยหรืออาการป่วยไม่รุนแรง (กลุ่มสีเขียว)

ผู้สื่อข่าวรายงาน ที่ ห้องประชุมชั้น 2 คอซิมบี้ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมปรึกษาหารือการจัดระบบดูแลรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 กลุ่มสีเขียว โดยมี นายพิเชษฐ์ ปาณะพงศ์ ว่าที่ร้อยตรีวิกรม จากที่ นายปิยพงศ์ ชูวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายแพทย์กู้ศักดิ์ กู้เกียรติกูล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต นายแพทย์เฉลิมพงษ์ สุคนธผล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต แพทย์หญิงวิทิตา แจ้งเอี่ยม ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยา โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต นายเรวัต อารีรอบ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดภูเก็ต ภาครัฐเอกชน และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้าร่วมสำหรับการประชุมในครั้งนี้ เป็นการปรึกษาหารือเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการจัดระบบดูแลรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ซึ่งไม่มีอาการป่วยหรืออาการป่วยไม่รุนแรง (กลุ่มสีเขียว) จังหวัดภูเก็ต

นายแพทย์กู้ศักดิ์ กู้เกียรติกูล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ได้รายงานข้อมูลสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในจังหวัดภูเก็ต ระลอกเมษายน 2564 ณ วันที่ 5 กันยายน 2564 มีรายงานผู้เชื้อสะสม 5,254 ราย เสียชีวิตสะสม 24 ราย โดยตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564 ถึงปัจจุบัน พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เฉลี่ย 115 รายต่อวัน ซึ่งใกล้เกินขีดความสามารถของโรงพยาบาลในการรับดูแลผู้ป่วย ทั้งนี้ ผู้ติดเชื้อโควิต-19 ส่วนใหญ่ไม่มีอาการป่วยหรืออาการป่วยไม่รุนแรง (กลุ่มสีเขียว) ไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยของโรงพยาบาล สามารถดูแลแบบ Community Isolation โดยให้ชุมชนช่วยกันดูแล หรือการดูแลแบบ Home Isolation อยู่ที่บ้านได้ด้าน แพทย์หญิงวิทิตา แจ้งเอี่ยม ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยา โรงพยาบาลวชิระภูเก็ตนำเสนอแนวทางระบบสุขภาพระดับอำเภอ District Health System “ประชารัฐ” เน้นการทำงานร่วมกัน ระหว่าง รพ. + สสอ. + รพสต. + อปท.+ ประชาสังคม เพื่อร่วมจัดการปัญหาโควิด ทุกภาคส่วนร่วมช่วย เพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปด้วยกัน

สำหรับการจัดตั้ง Community Isolation Center สามารถใช้กับสถานที่ เช่น หมู่บ้าน วัด โรงเรียน หรือที่พักคนงานก่อสร้างหรือชุมชนที่ยินดีสมัครใจ ชุมชนยอมรับสามารถรับผู้ป่วยในชุมชนได้ มีสถานที่ที่สามารถจัดตั้งศูนย์แยกกักในชุมชน (ศูนย์พักคอย) เพื่อดูแลผู้ป่วยได้ประมาณ 200 ราย จัดตั้งศูนย์ติดตามอาการผู้ป่วยได้ 24 ชั่วโมง สามารถประสานนำส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลหากผู้ป่วยมีอาการแย่ลง และมีสิ่งแวดล้อมถูกสุขลักษณะหรือได้รับการปรับปรุง เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดออกนอกชุมชน โดยจัดตั้งทีมดูแลโควิดชุมชน (CCRT) ที่ทำงาน 3 หน้าที่ (มาตรการ 3 ค) 1.คัดกรอง ด้วย ATK คัดแยกผู้ป่วยออกมา และส่งต่อเพื่อเข้าระบบการรักษาตามระบบ community หรือ hospital (<10% ดูแลใน CI, >10% sealพื้นที่) 2.ค้นหา และฉีดวัคซีนผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนใน cluster ระบาด 3.ควบคุม ประสานการควบคุมการระบาด โดยมาตรการทางสังคม ปรับลดกิจกรรมตามความเหมาะสม และ DMHTTสำหรับแนวปฏิบัติในการตรวจคัดกรองโรค และการส่งต่อสถานพยาบาล 1.กรณีรับบริการที่สถานพยาบาล โดยเป็นผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคที่มีอาการที่ ARI clinic โดยให้ตรวจวินิจฉัยด้วยวิธี RT-PCR และกรณีผู้รับบริการคัดกรองหรือขอตรวจหาเชื้อให้ตรวจคัดกรองด้วย ATK หากผลเป็นบวกให้ดำเนินการดังนี้ กรณีผู้ป่วยสีเขียว ให้ใช้การรักษาและแยกกักด้วยวิธี home isolation หรือ community isolation หรือโรงพยาบาลสนามในชุมชน หากมีอาการมากขึ้นให้พิจารณาส่งต่อสถานพยาบาลรักษา และยืนยันการติดเชื้อด้วยวิธี RT-PCR ต่อไป ตามแนวทางการรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 กรณีผู้ป่วยสีหลือง/สีแดง ให้รักษาพยาบาลในสถานพยาบาลตามแนวทางการรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19ส่วนแนวปฏิบัติในการตรวจคัดกรองโรค และการส่งต่อสถานพยาบาล กรณีผู้สัมผัสที่มีความเสี่ยง ทั้งในครอบครัวและผู้ใกล้ชิด รวมทั้งผู้ที่มีประวัติเสี่ยง ได้แก่ อาศัยเดินทางเข้าไปในพื้นที่ระบาด หากผลตรวจคัดกรองด้วย ATK เป็นลบ ให้ตรวจซ้ำทุก 3-5 วันหรือเมื่อมีอาการป่วย หากผลเป็นบวกให้ดำเนินการดังนี้กรณีผู้ป่วยสีเขียว ให้ใช้การรักษาด้วยวิธี home isolation หรือ community isolation หรือโรงพยาบาลสนามในชุมชน หากมีอาการมากขึ้นให้พิจารณาส่งต่อสถานพยาบาลรักษา และยืนยันการติดเชื้อด้วยวิธี RT-PCR กรณีผู้ป่วยสีเหลือง/สีแดง ให้ยืนยันการติดเชื้อด้วยวิธี RT-PCR และรักษาในสถานพยาบาลโดยหลังจากนี้ แนวทางการประชาสัมพันธ์จะรุกการประชาสัมพันธ์ลงสู่ชุมชน เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้ประชาชนได้รับทราบวิธีการดูแลตัวเองควบคู่กับการป้องกันและควบคุมโรค covid-19 อาทิ ชุดความรู้ใคร คือ ผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูงคนในครอบครัวเดียวกับผู้ป่วย/คนที่สัมผัสสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ หรือโดนไอ จาม จากผู้ป่วย / คนพูดคุยกับผู้ป่วยระยะไม่เกิน 1 เมตร นานกว่า 5 นาที โดยไม่มีการป้องกันตนเอง/อยู่ในสถานที่ปิดกับผู้ป่วย ไม่มีการถ่ายเทอากาศนานกว่า 5 นาที โดยไม่มีการป้องกันตนเอง เป็นต้น

Subscribe