Phuket Vegan Street food (ถนนอาหารเจจังหวัดภูเก็ต)

จังหวัดภูเก็ตร่วมกับเทศบาลนครภูเก็ตภาครัฐเอกชน จัดกิจกรรม Phuket Vegan Street food (ถนนอาหารเจจังหวัดภูเก็ต) ชูจุดเด่นด้านอาหารเพื่อการสร้างงานสร้างอาชีพให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นเกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจในท้องถิ่น

ที่ ซุ้มประตู Phuket Vegan Street Food ขริเวณถนนระนอง อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตพร้อมด้วยนางบุษดี สุวรรณรัตน์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดPhuket Vegan Street food (ถนนอาหารเจจังหวัดภูเก็ต) โดยมีนายสาโรจน์ อังคณาพิลาส นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต,หัวหน้าส่วนราชการภาครัฐเอกชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า “ที่ทราบกันดีว่าจังหวัดภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็น “ไข่มุกอันดามัน” และมีจุดเด่นหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม ประเพณีวัฒนธรรม ตลอดจนวิถีชีวิตชาวภูเก็ต ซึ่งเชื่อมโยงสู่วัฒนธรรมเกี่ยวกับอาหารการกินของคนภูเก็ต ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเลเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตที่เป็นหมุดหมายด้านการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวทั่วโลก มีเอกลักษณ์และเสน่ห์ในการดึงดูดนักท่องเที่ยว ด้วยความเป็นพหุสังคมและวัฒนธรรมของภูเก็ต การอยู่ร่วมกันของชาวไทยเชื้อสายจีน ชาวมุสลิม ฮินดู ซิกส์ และอื่น ๆ ที่ไม่สามารถกล่าวถึงในที่นี้ได้ ซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ถือว่าได้กำหนดจัดขึ้นภายใต้ประเพณีและวิถีชีวิตของคนท้องถิ่น คือ งานประเพณีถือศีลกินผัก หรือชาวภูเก็ตเรียกว่า “เจี๊ยะฉ่าย” ที่เป็นการเชื่อมโยงวิถีชีวิตของชาวท้องถิ่นภูเกิด อันเกิดจากความเชื่อสู่ประเพณีท้องถิ่นที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ จนปัจจุบันกลายเป็นประเพณีประจำปีของภูเก็ตที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั่วโลกที่เดินทางเข้ามาร่วมในช่วงประเพณีเป็นจำนวนมาก กอปรกับแผนยุทธศาสตร์ของจังหวัดภูเก็ต ได้วางยุทธศาสตร์ไว้ 10 าน อย่างน่าสนใจ โดยใช้หลัก “การท่องเที่ยวเป็นใหญ่” ได้แก่ Castronomy /Education HUB /Marina Hub / MICE City / Medical Hub / Smart City / Sport Tourism /Tuna Hub /Tourism และ Fusion Farm จะเห็นได้ว่าทั้งหมดล้วนเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจของทั้งจังหวัดภูเก็ตเองทั้งสิ้น เพื่อเติมเต็มมิติของอาหารภูเก็ตให้มีความสมบูรณ์และเกิดทางเลือกใหม่ ๆ มากยิ่งขึ้น ดังนั้นการจัดกิจกรรม Phuket Vegan Street Food (ถนนอาหารเจจังหวัดภูเก็ต) ถือเป็นการชูจุดเด่นด้านอาหารและวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวภูเก็ตให้มี
ความชัดเจนมากยิ่งขึ้น”

ด้านนายสาโรจน์ อังคณาพิลาส นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต กล่าวว่า “งานประเพณีถือศีลกินผักจ้งหวัดภูเก็ต ได้มีการสืบสานมาอย่างยาวนานในจังหวัดภูเก็ต ปัจจุบันร่วม 198 ปี และเมื่อปี พ.ศ. 2561 กระทรวงวัฒนธรรม ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษามาตรา 22 ให้ประเพณีถือศีลกินผักของจังหวัดภูเก็ตเป็นมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นทางวัฒนธรรมประจำจังหวัดภูเก็ต และมรดกของชาติไทย ซึ่งมีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2368โดยจะมีการประกอบพิธีกินผัก โดยเริ่มในวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ เดือน 9 (ตามจันทรคติจีน) ที่สร้างศรัทธาของประชาชนเป็นอย่างมากทำให้มีการสืบทอดเรื่อยมาเป็นประจำทุกปีตามประเพณี
จะมีพิธียกเสาโกเต้ง (ตะเกียง 9 ดวง) ถือเป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลถือศีลกินผัก โดยการอัญเชิญ เทพเจ้า9 องค์ เป็นประธานในพิธี ซึ่งได้มีการประกอบพิธียกเสาโกเต้งในวันนี้(14 ตุลาคม 2566) ถือเป็นวันแรกของการเริ่มประเพณีถือศีลกินผัก ประจำปี 2566 และจะประกอบพิธีส่งพระในคืนสุดท้าย คือวันที่ 23 ตุลาคม 2566 ที่ชายหาดปลายแหลมสะพานหิน

โดยในปีนี้ ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลนครภูเก็ด ได้จัดงานสืบทอดประเพณีเช่นทุกปี และนอกจากมีพิธีกรรมทางประเพณีแล้ว ได้จัด ร้านจำหน่ายอาหารเจ ตั้งแต่บริเวณหน้าตลาดสดสาธารณะ 1 เทศบาลนครภูเก็ต(ตลาดสดบ้านซ้าน) จนถึงบริเวณสี่แยกจุ๋ยตุ่ยระยะทางกว่า 1 กิโลเมตร รวมผู้ประกอบการ
มากกว่า 300 ราย ซึ่งจะเป็นการสร้างงานและสร้างอาชีพให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นเกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจในท้องถิ่น โดยการจัดงานเป็นความร่วมมือ ระหว่างเทศบาลนครภูเก็ต / สมาคมอ๊ามภูเก็ต/ มูสนิธิจุ้ยตุ่ยเต้าโบเก้ง/ศาลเจ้าปุดจ้อ / ชุมชนบ้านซ้านจุ้ยตุ่ย / กลุ่มผู้ประกอบการ เพื่อเป็นการปักหมุดเพื่อเพิ่มคุณค่า ของงาน และการสร้างการรับรู้เพื่อกระตุ้นให้คนเข้าร่วมงาน ก่อให้เกิดการเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมและเรื่องราวเพื่อตอบโจทย์นักเดินทางรุ่นใหม่ให้ตัดสินใจเข้าร่วมงานมากขึ้น และเพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ (ถนนอาหารเจ้จ้งหวัดภูเก็ต) ให้นักท่องเที่ยวทั้งขาวไทยและต่างประเทศได้รู้จักและเดินทางเข้ามาร่วมประเพณีและถือศีลกินผักในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ เทศบาลนครภูเก็ต ในฐานะเจ้าของพื้นที่การจัดงานฯ ยังมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยการประดับตกแต่งตามจุดแลนด์มาร์คสำคัญๆ ในเขตเมือง อาทิ อาคารสถานีตำรวจ (น้องหมี แยกธนาคารชาร์เตอร์ (ตรงข้ามพิพิธภัณฑ์เพอรานากันนิทัศน์)องค์จำลองเทพนาจา , วงเวียนสุรินทร์ (มังครท้อง), และประดับโคมไฟพื้นที่ในเขตเมือง เพื่อให้เมืองมีสีสันแและดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาท่องเที่ยวให้เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจในจังหวัดภูเก็ตมากยิ่งขึ้น ”

Subscribe