แลกเปลี่ยนความคิดเห็นโครงการพัฒนาเมืองเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในเขตเทศบาลนครภูเก็ต (บ้านชาร์เตอร์แบงค์)

โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดภุเก็ตจัดเสวนาเพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโครงการพัฒนาเมืองเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในเขตเทศบาลนครภูเก็ต (บ้านชาร์เตอร์แบงค์)ที่ บริเวณบ้านพักผู้จัดการธนาคารชาร์เตอร์แบงค์ สาขาภูเก็ต ถนนดำรง นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานกล่าวเปิดงานเสวนาเพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโครงการพัฒนาเมืองเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในเขตเทศบาลนครภูเก็ต (บ้านชาร์เตอร์แบงค์) โดยมีนายสมมิตร์ สมบูรณ์ โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดภูเก็ต นายสาโรจน์ อังคณาพิลาส นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต ส่วนราชการ ภาคเอกชน ประชาชนผู้มีความรู้และความสนใจในการพัฒนาพื้นที่เมืองเก่าภูเก็ตและสื่อมวลชนเข้าร่วม

 

นายสมมิตร กล่าวว่า ด้วยอาคารในเขตเทศบาลนครภูเก็ต มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในลักษณะชิโนยูโรเปียน ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของจังหวัดภูเก็ต ประกอบกับพื้นที่เทศบาลนครภูเก็ตได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์เมืองเก่า ส่งผลให้สามารถรักษารูปแบบอาคารดั้งเดิมไว้ได้เป็นอย่างดี โดยมีการพัฒนาอาคารเก่าที่มีสถาปัตยกรรมในยุคเฟื่องฟูของการทำเหมืองแร่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างรายได้และสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ชุมชนเสมอมา รวมท้งบ้านพักผู้จัดการธนาคารชาร์เตอร์แห่งนี้เป็นบริเวณที่เหมาะสมสำหรับพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม โดยแสดงถึงประวัติศาสตร์และความเป็นมาของชุมชน รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นเอกลักษณ์แห่งใหม่ของจังหวัดภูเก็ตจังหวัดภูเก็ต ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่ จึงได้มอบหมายสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดภูเก็ตกับเทศบาลนครภูเก็ต ร่วมดำเนินการโดยได้ให้การสนับสนุนงบประมาณเป็นวงเงิน 28 ล้านบาท ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นงบประมาณตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดภูเก็ตโดยกำหนดแนวทางการดำเนินการประกอบด้วย การบูรณะ ซ่อมแซม อาคารบ้านพักผู้จัดการธนาคารชาร์เตอร์ เพื่อให้มีความมั่นคงแข็งแรง โดยคงรูปแบบสถาปัตยกรรมเดิมให้สอดคล้องกับบริบทของเมือง โดยทำการตกแต่งภายในบ้านพัก เพื่อเป็นอาคารรับรองบุคคลสำคัญระดับประเทศหรือผู้มาเยือนจากต่างประเทศ, งานก่อสร้างอาคารประกอบเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ทางประเพณี ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนภูเก็ตในระดับเมือง รวมทั้งรองรับนักท่องเที่ยวในอนาคตและงานปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อเป็นสวนสาธารณะ พื้นที่นันทนาการทางระดับชุมชน รวมทั้งเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมพืชพื้นถิ่น ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญในการอนุรักษ์อาคารทางวัฒนธรรมให้คงอยู่ ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญของเมืองภูเก็ตและจังหวัดภูเก็ต โดยการปรับปรุงพื้นที่และตัวอาคารเดิมให้เป็นไปตามหลักการอนุรักษ์ที่ถูกต้อง

Subscribe