คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จัดโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “มัคคุเทศก์น้อย” เตรียมพร้อมรับนักท่องเที่ยวในชุมชนเกาะสิเหร่

ที่ โรงเรียนเกาะสิเหร่ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ร่วมกับโรงเรียนเกาะสิเหร่ โดยคณะอาจารย์ประกอบด้วยอาจารย์ทวีพงศ์ คงมา ดร.เชิดชัย กลิ่นธงชัย ผศ.ดร.ชินชนก อนันตมงคลกุล อาจารย์อุมาภรณ์  สมการ ได้ร่วมกันจัดอบรมเชิงปฏิบัติการมัคคุเทศก์น้อย โดยมีนักเรียนจากโรงเรียนเกาะสิเหร่ เข้าร่วม

อาจารย์ ทวีพงศ์ กล่าวว่า ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมกำหนดเป้าหมายเพื่อสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ กระจายความเจริญทางด้านเศรษฐกิจและสังคม และเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนา การพึ่งตนเองและจัดการตนเอง ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่เป็นกลไกขับเคลื่อนให้บรรลุตามเป้าหมาย คือ การเสริมสร้างพลังทางสังคม โดยการดึงเอาพลังของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคเอกชน ประชาสังคม ชุมชนท้องถิ่นมาร่วมขับเคลื่อนสนับสนุนการรวมตัวเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ในการร่วมคิด ร่วมลงมือพัฒนา แก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับความต้องการระดับพื้นที่บนฐานของทุนทางสังคมและวัฒนธรรม รวมถึงการพัฒนาต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ประกอบกับพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 และยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาท้องถิ่น ได้กำหนดเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ ทั้ง 38 แห่ง เพื่อพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่บริการให้ครอบคลุมทั้งด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และต้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น จึงกำหนดมาตรการเพื่อขับเคลื่อนภารกิจด้านการพัฒนาท้องถิ่น โดยการสนับสนุนองค์ความรู้ทางวิชาการและร่วมดำเนินงานกับหน่วยงานและองค์กรภาคี ผ่านบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ การวิจัย การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการมีส่วนของอาจารย์และนักศึกษาลงพื้นที่ถ่ายทอดองค์ความรู้แขนงต่างๆ ตามศาสตร์ที่เชี่ยวชาญแก่ประชาชนและชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่ให้บริการคือ ภูเก็ต พังงาและกระบี่ โดยมีเป้าหมายการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่ครอบคลุมทั้งด้านการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม  ซึ่งการจัดโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์  เพื่อสร้างอาชีพเสริมและรายได้แก่กลุ่มเป้าหมายผู้ที่มีรายได้น้อยในพื้นที่เป้าหมายและดำเนินงานส่งเสริม,  เพื่อเก็บข้อมูลพื้นที่เป้าหมายระดับครัวเรือน เสนอต่อผู้ที่เกี่ยวข้องและ เพื่อบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการพัฒนาท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของอาจารย์และนักศึกษาในการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมและงานวิจัย และความเชี่ยวชาญในศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสู่การพัฒนาชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย ตลอดจนเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งกายใจ สติปัญญา อารมณ์และสังคม ของประชาชนในชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่เป้าหมายทั้งนี้การจัดโครงการดังกล่าวเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการรองรับการเท่องเที่ยวในชุมชนโดยใช้เยาวชนในพื้นที่ท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนแล้วยังเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่คนในชุมชนอีกด้วย

Subscribe