จังหวัดภูเก็ต ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ต (กรอ. จังหวัดภูเก็ต) ครั้งที่ 6/2564

วันที่ 30 มีนาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงาน ที่ ห้องประชุมคอซิมบี้ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต นายปิยพงศ์ ชูวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ต หรือ กรอ.จังหวัดภูเก็ต โดยมี ส่วนราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน

โดยที่ประชุมได้ติดตามความคืบหน้าแนวทางการดำเนินโครงการก่อสร้าง ทางพิเศษสายกะทู้ป่าตอง มีรายละเอียดดังนี้

-กำหนดขออนุมัติหลักการ PPP กรกฎาคม 2564

-คัดเลือกเอกชน สิงหาคม 2564 ถึงมีนาคม 2566

ออก พระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.)และจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน สิงหาคม 2564 -มกราคม 2567

– ก่อสร้างในเดือนเมษายน 2566

– เปิดให้บริการในเดือนเมษายน 2570

ในส่วนของการดำเนินโครงการทางพิเศษสายเมืองใหม่-เกาะแก้ว-กะทู้ มีความคืบหน้าดังนี้

-ขออนุมัติหลักการ PPP พฤศจิกายน 2565 -พฤศจิกายน 2566

-จัดทำ TOR จัดจ้างคัดเลือกเอกชน ระหว่าง กรกฎาคมถึงพฤศจิกายน 2566

-คัดเลือกเอกชน /ลงนามสัญญาร่วมทุน ธันวาคม 2566 ถึงกุมภาพันธ์ 2568

-ตรา พ.ร.ฎ.เวนคืนฯสำรวจ /จัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ธันวาคม 2566 ถึงสิงหาคม 2569

-ก่อสร้าง ตุลาคม 2568

-เปิดให้บริการตุลาคม 2571โอกาสนี้ นายแพทย์เฉลิมพงษ์ สุคนธผล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต รายงานความคืบหน้าโครงการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดภูเก็ตสู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก โดยใน  Phase 1  กำหนดดำเนินการก่อสร้างดังนี้1.ศูนย์บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขนานาชาติ 2.ศูนย์อภิบาลสุขภาพผู้สูงอายุนานาชาติ 3.ศูนย์ใจรัก 4.ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูครบวงจรศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัย รวม งบประมาณ 1,418,697566 บาท ในพื้นที่ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ตในพื้น ที่ 141 ไร่

ทั้งนี้โครงการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดภูเก็ตสู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก จะก่อให้เกิดคุณค่าดังนี้

1.เป็นศูนย์กลางการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขมูลค่าสูงที่เชื่อมโยงการท่องเที่ยวและการบริการอื่นๆ ระดับนานาชาติ

(International Medical Hub World Class Destination)

2.นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปมีความเชื่อมั่นในความปลอดภัยคุณภาพและมาตรฐานด้านการแพทย์และการสาธารณสุขของจังหวัดภูเก็ตที่รองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพตามวิถีปกติใหม่ (New Normal)

3.สร้างโอกาสในการลงทุนให้กับผู้ประกอบการในพื้นที่และประเทศ

4.การจ้างงานเพิ่มขึ้นและคนเดิมได้รับการจ้างต่อภาคการท่องเที่ยวและบริการอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง

5.จำนวน นักท่องเที่ยวและมูลค่าทางเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตและประเทศเพิ่มขึ้น

6.กระตุ้นธุรกิจประกอบการท้องถิ่น ส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ช่วยสร้างานให้คนในชุมชนเป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชนและเมืองอย่างทั่วถึงและยั่งยืน

7.เป็นต้นเบบของภูมิภาคอื่นในการจัดตั้งศูนย์บริการทางการแพทย์ & สุขภาพนานาชาติ Interational & Hesalty Wellness Tourism) เพิ่มคุณค่าและการปฏิรูปการรท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประเทศไทยให้เป็นชั้นนำระดับโลก (World Class)

8.ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งนี้การผลักดันโครงการต่าง ๆ เหล่านี้มุ่งเป้าหมายเพื่อการพัฒนาจังหวัดภูเก็ตอย่างยั่งยืนต่อไป

Subscribe