เปิดศูนย์เรียนรู้ป่าชายเลน คลองมุดง พร้อมติดตั้งทุ่นกักขยะ

สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 10 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมกับเทศบาลตำบลวิชิต ชุมชนมะขามคู่ สมาชิกอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เปิดศูนย์เรียนรู้ป่าชายเลน คลองมุดง ชุมชนมะขามคู่ ตำบลวิชิตอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต พร้อมติดตั้งทุ่นกักขยะ ในป่าชายเลนคลองมุดง ชุมชนมะขามคู่ เพื่อการอนุรักษ์ ดูแลรักษา ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ให้มีความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 นายปิยพงศ์ ชูวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตเป็นประธานเปิดศูนย์เรียนรู้ป่าชายเลน คลองมุดง ชุมชนมะขามคู่ ตำบลวิชิตอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต โดยมี  ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลยาวชนและครอบครัวจังหวัดภูเก็ต /ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงภูเก็ต/ ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมและประสานงาน เครือข่ายทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่ 10 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง/ ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต /ผู้แทนผู้อำนวยการสำนักงานยุติธรรมจังหวัดภูเก็ต/ผู้แทนผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต/ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรวิชิต/สมาชิกอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม

นายปิยพงศ์ ชูวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ปัญหาขยะทะเลเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล ตลอดไปจนระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง โดยประเทศไทยถูกจัดอันดับประเทศที่มีขยะทะเลมากเป็นอันดับที่ 6 ของโลกซึ่งนับเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ประเทศเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะธุรกิจการท่องเที่ยว โอกาสนี้ขอขอบคุณสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 10 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เทศบาลตำบลวิชิต ชุมชนมะขามคู่ สมาชิกอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ที่ได้ร่วมมือกันในการติดตั้งทุ่นกักขยะ และได้พัฒนามาเป็นเรียนรู้ป่าชายเลนคลองมุดง ชุมชนมะขามคู่ จะเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ที่มีความสำคัญสามารถสร้างจิตสำนึก สร้างความรักในการอนุรักษ์ ดูแลรักษา ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ให้มีความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน

ด้านนายฉัตร ชลารัตน์ ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมและประสานงาน เครือข่ายทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่ 10 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวรายงานว่า ป่าชายเลนจัดเป็นระบบนิเวศเปิดที่มีโครงสร้างซับซ้อน จึงมีสัตว์หลายชนิดเข้ามาใช้ประโยชน์จากป่าชายเลนเพื่อเป็นแหล่งอาหาร แหล่งวางไข่ และอนุบาลตัวอ่อนรวมทั้งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ที่มีความสำคัญทางศรษฐกิจหลายชนิด ดังนั้น ป่าชายเลนจึงเป็นระบบนิวศที่มีความสำคัญ และมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตมีคุณค่าทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ขยะทะเล คือ ของเสียหรือลผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ที่ถูกทิ้งและไหลลงสู่ทะเลทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ มีขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ซึ่งขยะดังกล่าวเป็นขยะพลาสติกที่มีน้ำหนักเบา และไม่สามารถย่อยสลายได้ในช่วงเวลาสั้นๆ จึงถูกพัดพาไปที่ที่ห่างไกลจากแหล่งกำเนิด โดยคลื่นลม กระแสน้ำ และน้ำขึ้น-น้ำลง โดยขยะทะเลมาจากแหล่งสำคัญ 2 แหล่ง ได้แก่ กิจกรรมบนฝั่ง เช่น ขยะที่ไหลมาจากแม่น้ำสายหลัก จากการท่องเที่ยวบริเวณชายฝั่ง และแหล่งอุตสาหกรรมบริเวณชายฝั่งของเสียที่ปล่อยมาจากบ้านเรือน และกิจกรรมในทะเล เช่น การขนส่งทางเรือประมงชายฝั่ง แท่นขุดเจาะน้ำมันในทะเล เป็นต้น ในปี พ.ศ.2558 ประเทศไทยถูกจัดลำดับประเทศที่ทิ้งขยะพลาสติกลงสู่ทะเลมากที่สุด เป็นลำดับที่ 6 ของโลกกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลขยะทะเล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ได้ดำเนินการเก็บข้อมูลขยะทะเลในพื้นที่ 21จังหวัดชายฝั่งทะเล ขยะ 10 อันดับแรกที่พบมากที่สุด ได้แก่ ถุงพลาสติกอื่นๆ รองลงมาได้แก่ ขวดเครื่องดื่มพลาสติก และขวดแก้ว กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาขยะทะเลที่นับวันจะส่งผลกระทบรุนแรงขึ้น ทั้งต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลระบบนิเวศ และคุณภาพชีวิตของผู้คน โดยเฉพาะขยะพลาสติกประเภทต่างๆ แตกหัก ผุกร่อน โดนแรงบีบอัดจนกลายป็นชิ้นเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร ที่อาจมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น(ไมโครพลาสติก) จึงได้ดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อลดปริมาณขยะทะเลที่อาจเป็นขยะทะเลชน

โครงการชายหาดปลอดบุหรี่ การติดตั้งทุ่นกักขยะ และอวนดักขยะบริเวณปากแม่น้ำที่ไหลลงสู่ทะเล โครงการเก็บขยะที่ตกค้างในระบบนิวศที่สำคัญแบบมีส่วนร่วม และการใช้เรือเก็บขยะบริเวณปากแม่น้ำ ในปี 2562 สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 10 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมกับเทศบาลตำบลวิชิต ชุมชนมะขามคู่ สมาชิกอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล หน่วยงนภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ร่วมมือในการติดตั้งทุ่นกักขยะบริเวณนี้ และพัฒนามาเป็นศูนย์การเรียนรู้ป่าชายเลนคลองมุดง ชุมชนมะขามคู่ในปัจจุบัน เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และเป็นการปลูกจิตสำนึกภภสร้างความตระหนักในกรอนุรักษ์ ดูแลรักษา ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ให้มีความอุดมสมบูรณ์ ตอบสนองความต้องการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ตลอดไป

Subscribe